การบริหารจัดการสภาวะน้าท่วมในต้าบลน้าหัก อ้าเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ดารากร ปล้องคง ปลัดองค์การบริหารส่วนต้าบล องค์การบริหารส่วนต้าบลน้้าหัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ นักศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการสภาวะน้้าท่วม, ต้าบลน้้าหัก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเกิดภัยน้้าท่วมในต้าบลน้้าหัก อ้าเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อศึกษาถึงกระบวนการของชุมชนท้องถิ่นต้าบลน้้าหัก ในการรองรับสภาวะน้้าท่วมทั้ง 4 ขั้นตอน คือการเตือนภัย การสงเคราะห์ชาวบ้าน การระบายน้้า การเยียวยาและ/หรือฟื้นฟู ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจัดสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยผู้น้าท้องที่ ผู้น้าท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน จ้านวน 8 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่ และสังเคราะห์สรุปเป็นข้อมูลในรูปแบบเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า การเตือนภัยต้องเริ่มต้นจากผู้สื่อสารและผู้รับสาร เมื่อเกิดสภาวะน้้าท่วมฉับพลัน การแจ้งเตือนภัยมีปัญหาขัดข้อง ประชาชนไม่สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันท่วงที จึงเป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนต้าบลน้้าหัก ร่วมกับผู้น้าท้องที่ในการแจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับรู้อย่างทั่วถึงทันต่อเหตุการณ์ การวิเคราะห์ความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ ชุมชนท้องถิ่นยังขาดความรู้ ขาดข้อมูลที่ชัดเจน และสถิติที่จะระบุถึงความรุนแรงของการเกิดน้้าท่วม การสงเคราะห์ชาวบ้าน พบว่าหน่วยงานที่สามารถช่วยเหลือชาวบ้านได้ คือ อ้าเภอ จังหวัด ส้านักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพราะหน่วยงานเหล่านั้นมีความพร้อมและศักยภาพเพียงพอ ส่วนขั้นตอนการด้าเนินงาน ปัจจัยแรกที่ควรนึกถึงคือถุงยังชีพ การระบายน้้า ยังขาดการบริหารจัดการที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การเยียวยาและ/หรือฟื้นฟู เป็นการการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ ตลอดจนเยียวยาประชาชนให้กลับสู่สภาพปกติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-16