การขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสาหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ รองศาสตราจารย์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ประชากร, ตัวอย่าง, ขนาดตัวอย่าง

บทคัดย่อ

ในการวิจัยที่ศึกษาข้อมูลจากตัวอย่าง สิ่งที่นักวิจัยต้องเผชิญได้แก่ ปัญหาในการกาหนดตัวอย่างที่เหมาะสมว่าจะใช้ขนาดตัวอย่างเท่าใด ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทาให้สิ่งที่นักวิจัยจะต้องตระหนักคือ การกาหนดขนาดตัวอย่างนั้นควรมีวัตถุประสงค์อย่างน้อย 2 ประการได้แก่ 1) การประมาณค่าสัดส่วนของประชากร และ 2) การประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร ซึ่งสูตรการคานวณหาขนาดตัวอย่างโดยการประมาณค่าสัดส่วนของประชากร เมื่อทราบจานวนประชากร ได้แก่ สูตรของ ทาโร ยามาเน ส่วนสูตรการคานวณหาขนาดตัวอย่างโดยการประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร เมื่อทราบจานวนประชากร ได้แก่ สูตรของ เครจซี่ และ มอร์แกน ซึ่งสูตรทั้งสองได้ใช้อ้างอิงในการวิจัยเชิงปริมาณในอดีตที่ผ่านมา แต่ผู้เขียนเห็นว่าบางครั้งการใช้สูตรทั้งสองก็ไม่ถูกต้องเสมอไป ผลการศึกษาพบว่า ในการคานวณหาขนาดตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร ยามาเน หรือสูตรของ อาร์. วี. เครจซี่ และ อาร์. ดับเบิลยู. มอร์แกน นั้น จากการที่สูตรทั้งสองมีที่มาไม่แตกต่างกัน ทาให้ผลลัพธ์จากการคานวณขนาดตัวอย่างที่ได้จึงใกล้เคียงกัน และในบางกรณีการคานวณหาขนาดตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน อาจไม่เหมาะสมในกรณีที่ค่าความคลาดเคลื่อนของการประมาณค่าน้อย และประชากรมีขนาดเล็กเกินไป เพราะจะทาให้การคานวณเกิดความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นสูตรที่เหมาะสมสาหรับการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวผู้เขียนเรียกว่าสูตรของ วัลลภ ซึ่งเป็นสูตรที่มีความเหมาะสมสาหรับในกรณีที่ค่าความคลาดเคลื่อนของการประมาณค่าน้อย และประชากรมีขนาดเล็ก อันจะทาให้การคานวณขนาดตัวอย่างไม่เกิดความผิดพลาดและส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัยต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-16