ปัญหาการจัดการท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เมืองการค้าชายแดน: กรณีศึกษาเทศบาลตาบลท่าสายลวด และเทศบาลนครแม่สอด อาเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • นพพล อัคฮาด ผู้ช่วยเลขาธิการ และโฆษก สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นิสิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการท้องถิ่น, พื้นที่ชายแดน, แม่สอด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาการกระจายอานาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่นส่งผลให้ท้องถิ่นมีความสามารถมากน้อยเพียงใดในการดูแลตนเอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะกล่าวคืออยู่บริเวณพื้นที่เมืองการค้าชายแดนมีความสามารถมากน้อยเพียงใดในการจัดการกับปัญหาที่มีมากกว่าการบริหารจัดการท้องถิ่นทั่วไป ผลในการวิจัยพบว่าท้องถิ่นที่อยู่ในบริเวณพื้นที่เมืองการค้าชายแดนนั้นต้องเผชิญกับปัญหาที่มีปัจจัยที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น แรงงานข้ามชาติ ประชากรแฝง ยาเสพติด เป็นต้น และปัจจัยที่เกิดมาจากในตัวพื้นที่และบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงในประเทศ เช่น ปัญหาถนนชารุด ปัญหาขยะ ปัญหาเรื่องความสะอาดของพื้นที่ ปัญหาน้าท่วม เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่โดยตรงซึ่งต่างจากท้องถิ่นภายในประเทศทั่วๆไปที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดมาจากในท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว ทาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเทศบาลนั่นไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการกระจายอานาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่นนั้นเป็นเพียงการเพิ่มอานาจให้นายกเทศมนตรีให้มีอานาจเพิ่มขึ้นภายในองค์กรตนเองเท่านั้น แต่งบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับจากการจัดเก็บในพื้นที่ เงินช่วยเหลือและเงินอุดหนุนจากภาครัฐยังไม่เพียงพอต่อการดูแลประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากภาระปัญหาที่ท้องถิ่นต้องเผชิญนั้นจาเป็นต้องใช้เงินในการแก้ไขปัญหา นามาซึ่งการขาดบุคลากรในการดูแลประชาชนในพื้นที่ และมีการทางานทับซ้อนกับหน่วยงานของรัฐส่งผลให้การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-15