สถานภาพทางสังคมกับพฤติกรรมการเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2554: กรณีศึกษาจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ รองศาสตราจารย์ และ ประธาน โครงการศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ ภาคพิเศษ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นพพล อัคฮาด ผู้ช่วยเลขาธิการ สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สถานภาพทางสังคม, พฤติกรรมการเลือกตั้ง, เขตจตุจักร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยทางสถานภาพทางสังคม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ลักษณะที่อยู่อาศัย ถิ่นกาเนิด การศึกษา อาชีพ รายได้ และความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งกับพฤติกรรมการเลือกตั้งซึ่งมี 3 ลักษณะได้แก่ 1) การออกไปใช้สิทธิ 2) การเลือกพรรคการเมือง และ 3) การตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคเดิมในการเลือกตั้งครั้งต่อไป โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตจตุจักร กรุงเทพฯ จานวน 400 ราย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลและทาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้แก่ ลักษณะที่อยู่อาศัย ถิ่นที่เกิด การศึกษา อาชีพ รายได้ และความรู้, ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกพรรคการเมืองได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ลักษณะที่อยู่อาศัย ถิ่นที่เกิด การศึกษา อาชีพ และรายได้ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจจะเลือกพรรคการเมืองเดิม ได้แก่ การศึกษา อาชีพ และความรู้ อย่างมีระดับนัยสาคัญที่ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-28

How to Cite

รัฐฉัตรานนท์ ว., & อัคฮาด น. (2019). สถานภาพทางสังคมกับพฤติกรรมการเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2554: กรณีศึกษาจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 1(1), 33–40. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/218608