การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว: การวิจัยทางสังคมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ปริญญา สิริอัตตะกุล ผู้อานวยการ ศูนย์ให้คาปรึกษาทางวิชาการและวิจัย สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว, การวิจัยทางสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เป็นวิธีเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างตัวแปรอิสระ 1 ตัวแปรกับตัวแปรตาม 1 ตัวแปร โดยที่ตัวแปรอิสระมีลักษณะเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม ตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้น และเป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ซึ่งมีข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้ 1) ข้อมูลที่นามาวิเคราะห์ (ตัวแปรตาม) ต้องมีระดับการวัดตั้งแต่มาตราอันตรภาค ขึ้นไป 2) ตัวอย่างแต่ละกลุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงปกติ 3) ตัวอย่างแต่ละกลุ่มต้องเป็นอิสระจากกัน และ 4) ตัวอย่างแต่ละกลุ่มมาจากประชากรที่มีความแปรปรวนเท่ากัน ดังนั้นในการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว จึงจาเป็นที่จะต้องตรวจสอบว่าข้อมูลเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ผู้วิเคราะห์จาเป็นที่จะต้องเลือกใช้วิธีทางสถิติที่เหมาะกับลักษณะของข้อมูล การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-27