ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองและการตั้งเป้าหมายในการเรียน: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองและการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก ชั้นปีที่ 1 จำนวน 17 คน วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีความสมัครใจเข้าร่วม การวิจัยได้สุ่มแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 9 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาตามแนวคิดอัตถิภาวนิยม จำนวน 8 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง 30 นาที และกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มพูดคุยสื่อสารสัมพันธภาพทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมกลุ่มการปรึกษาตามแนวคิดอัตถิภาวนิยม (2) แบบสอบถามการตระหนักรู้ในตนเอง และ (3) แบบสอบถามการตั้งเป้าหมายในการเรียน ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการประเมินก่อนทดลอง และหลังทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Matched-pairs Signed rank test และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษา พบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวนิยม มีคะแนนเฉลี่ยการตระหนักรู้ในตนเองและการตั้งเป้าหมายในการเรียน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และ 2) นักศึกษาที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวนิยมมีคะแนนเฉลี่ยการตระหนักรู้ในตนเองและการตั้งเป้าหมายในการเรียน แตกต่างกับคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาที่ไม่ได้เข้ากลุ่มการปรึกษาอัตถิภาวนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สรุป โปรแกรมกลุ่มการปรึกษาตามแนวคิดอัตถิภาวนิยมสามารถเพิ่มการตระหนักรู้ในตนเองและการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก ชั้นปีที่ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เรื่องที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาคลินิกแล้วถือเป็นลิขสิทธิ์การเผยแพร่โดยวารสารจิตวิทยาคลินิกแต่เพียงผู้เดียว การตีพิมพ์หรือเผยแพร่ซ้ำในที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารฯ
References
Akwarangkoon, S. (2019). Psychiatric and mental health nursing: Science and art. Put into practice 1. Time Printing Factory, Walailak University. (in Thai).
Boonyapraphan, B. (2020). Development of manual for self-awareness of undergraduate students. The Journal of Faculty of Applied Arts, 13(1), 74-85. (in Thai).
Chongrak, D. (2013). Theories of counseling and preliminary psychotherapy. Technology Promotion Association (Thai-Japanese). (in Thai).
Golemam, D. (1998). working with emotional intelligence. Bantam Books.
Khongkhao, N. (2016). The effects of existential group counseling toward self-awareness of secondary school students. Retrieved July 10, 2021, from http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54921001.pdf. (in Thai).
Soonsawat, N. (2015). Setting goals for life and work setting goals of life and work. Journal of Information, 14(2), 21-36. (in Thai).