การพัฒนาแบบสังเกตอาการด้านจิตใจสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

Main Article Content

วีร์ เมฆวิลัย
ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์
เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี
บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบสังเกตอาการด้านจิตใจ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน


วิธีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 สร้างข้อคำถามเพื่อศึกษาความตรงเชิงเนื้อหาและความเข้าใจทางภาษาระยะที่ 2 ศึกษาความตรงเชิงโครงสร้าง ความตรงร่วมสมัยกับเครื่องมือมาตรฐาน MINI หมวด psychosis กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเวชที่รับบริการในโรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 93 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ
วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนและความสอดคล้องภายในข้อคำถามด้วยสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค


ผลการศึกษา แบบสังเกตอาการด้านจิตใจเป็นมาตรวัดแบบให้คะแนนประกอบด้วยคำถาม 6 ข้อ จำแนกเป็น 2 มิติองค์ประกอบ คือ ความผิดปกติเกี่ยวกับความคิด 3 ข้อ และ ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรม 3 ข้อ อภิปรายความแปรปรวนในภาพรวมได้ 51.5% มีจุดตัดคะแนนที่เหมาะสมเท่ากับ 2 คะแนน มีความตรงร่วมสมัยกับ MINI หมวด psychosis (r =0.87, sensitivity = 84.2%, specificity = 70.9%, PPV = 66.7%, NPV = 86.7%) มีความสอดคล้องภายในระดับดีมากด้วยค่า (α = 0.89)


สรุป แบบสังเกตอาการด้านจิตใจ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีคุณสมบัติการวัดในด้านความตรงและความเที่ยง สามารถนำไปใช้ในการประเมินอาการด้านจิตใจเพื่อคัดกรองผู้มีความผิดปกด้านจิตใจเบื้องต้นได้ ซึ่งมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเภทได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมสุขภาพจิต. (2558). คู่มือผู้เข้าอบรมหลักสูตรการเข้าถึงบริการและดูแลผู้ป่วยโรคจิต สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด
เอวัน ปริ้นติ้ง.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางกอกบล๊อก.
มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต. (2560). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์.
อภิชัย มงคล, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, และคณะ. (2545). แบบคัดกรองโรคจิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
Fabrigar, L. R., & Wegener, D. T. (2011). Exploratory factor analysis. New York, NY: Oxford University Press.
Harrington, D. (2009). Confirmatory factor analysis. New York, NY: Oxford University Press.
Hsu, C. C., & Sandford, B. A. (2007). The Delphitechnique: making sense of consensus, practical assessment. Research & Evaluation, 12(10), 1-8.
Kittirattanapaiboon, P., & Khamwongpin, M. (2005). The validity of the mini international neuropsychiatric interview (MINI)-Thai version. Journal of Mental Health of Thailand, 13(3), 125-135.
Netemeyer, R. G., Bearden, W. O., & Sharma, S. (2003). Scaling procedures: Issues and applications. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Sheehan, D. V., Lecrubier, Y., Sheehan, K. H., Janavs, J., Weiller, E., Keskiner, A., ... Dunbar, G. C. (1997). The validity of the Mini International Neuropsychiatric
Interview (MINI) according to the SCID-P and its reliability. European Psychiatry, 12(5), 232-241.
Steiger, J. H. (1980). Tests for comparing elements of a correlation matrix. Psychological bulletin, 87(2), 245.
Williams, B., Onsman, A., & Brown, T. (2010). Exploratory factor analysis: A five-step guide for novices. Australasian Journal of Paramedicine, 8(3).