ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นคู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปี ฉบับ พ.ศ. 2561

Main Article Content

ประเสริฐ จุฑา
วนิดา ชนินทยุทธวงศ์
รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล
ฉัตรมงคล ฉ่ำมาก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและปรับปรุง รวมถึงทดสอบความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่น ของคู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปี ฉบับ พ.ศ. 2561


วิธีการศึกษา พัฒนาข้อคำถามคู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปี ฉบับ พ.ศ. 2561 ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา นำมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ร่างคำถามทั้งสิ้น 116 ข้อ จากนั้นทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเด็กไทยอายุ 2-15 ปี จำนวน 425 คน เพื่อประเมินค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ นำเอาผลการประเมินไปคัดเลือกคำถามเหลือคำถาม 56 ข้อ ทดสอบความเที่ยงตรงตามสภาพและความเชื่อมั่นของคำถามดังกล่าวในกลุ่มตัวอย่างเด็กไทยอายุ 2-15 ปี จำนวน 325 คน โดยในกลุ่มอายุ 2-5 ปี ประเมินความเที่ยงตรงตามสภาพ โดยเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ระหว่างคู่มือประเมินฯ ฉบับ พ.ศ. 2561 กับแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาสแตนฟอร์ด-บิเนต์ ในกลุ่มอายุ 6-15 ปี ประเมินโดยเปรียบเทียบฯ กับแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาเว็กสเลอร์ และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นด้วยวิธีแบ่งครึ่ง    


ผลการวิจัย คู่มือประเมินฯ ฉบับ พ.ศ. 2561 ประกอบด้วยข้อคำถามที่มีคุณสมบัติการวัดที่เหมาะสมจำนวน 65 ข้อ มีค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้องทั้งฉบับเท่ากับ .87  มีค่าความยากง่าย 0.00 ถึง 1.00  ค่าอำนาจจำแนก 0.00 ถึง 1.00  มีค่าความเที่ยงตรงตามสภาพทั้งฉบับเท่ากับ .69 และมีค่าความเชื่อมั่นของทั้งฉบับเท่ากับ .80.


สรุป คู่มือประเมินฯ ฉบับ พ.ศ. 2561 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงตรงตามสภาพ และความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง สามารถนำไปใช้ประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปีได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

จินตนา สิงขรอาจ, เมธี วงศ์วีระพันธุ์, ฉัตรมงคล ฉ่ำมาก, และพีรดา อุ่นไพร. (บ.ก.). (2557). คู่มือมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิกสำหรับเด็กและวัยรุ่น เล่ม 1 ด้านเชาวน์ปัญญา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัทยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
ประสบชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 27(1). สืบค้น 23 พฤษภาคม 2563, จาก file:///C:/Users/Laptop/Downloads/43033-Article%20Text-99573-1-10-20151126%20(1).pdf
สมทรง สุวรรณเลิศ. (บรรณาธิการ). (2546). คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปี (ปสช.) ฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546 (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2551). คู่มือการวัดทางจิตวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เมดิคัล มีเดีย.
Flynn, J.R. (1987). Massive IQ gains in 14 nations: What IQ tests really measure. Psychological Bulletin, 101, 171-191. Retrieved from http://www.jugendsozialarbeit.de/media/raw/ flynn1987_What_IQ_tests_really_measure.pdf
Neisser, U., Boodoo, G., Bouchard, T.J., Boykin, A.W., Brody, N., Ceci, S.J., …Sternberg, R.J. (1996). Intelligence: knowns and unknowns. American Psychologist, 5, 77-101. Retrieved from http://psych.colorado.edu/~carey/pdfFiles/IQ_Neisser2.pdf
Roid, G.H. (2003). Stanford-Binet Intelligence Scales, Fifth Edition, Technical manual. USA.: Riverside publishing.
Wechsler, D. (1991). Wechsler Intelligence Scale for Children, Third Edition, Manual. USA.: The Psychological Corporation.
White, M.B., & Hall, A.E. (1980). An overview of intelligence testing. Retrieved from https://www.jstor.org/stable/42924403?seq=1