การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะ การบำบัดฟื้นฟูเยียวยาเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการบำบัดฟื้นฟูเยียวยาเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว
วิธีการศึกษา การวิจัยแบบคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focused Group) ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานบ้านพักเด็กและครอบครัว และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ในกลุ่มหัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จำนวน 4 แห่ง คือ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ ตาก ร้อยเอ็ด และ ระนอง เก็บข้อมูลเดือนเมษายน พ.ศ.2560
ผลการศึกษา เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ต้องการที่จะเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก โรคทางจิตเวชที่พบบ่อยในกลุ่มเด็กที่ถูกกระทำรุนแรง การคัดกรองความผิดปกติทางจิตใจ วิธีการให้การปรึกษาเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง นอกจากยังมีความต้องการเรียนรู้วิธีการดูแลจิตใจของตนเองเมื่อต้องปฏิบัติงานร่วมกับเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง
สรุป ผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นประโยชน์การพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการบำบัดฟื้นฟูเยียวยาเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว
Article Details
เรื่องที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาคลินิกแล้วถือเป็นลิขสิทธิ์การเผยแพร่โดยวารสารจิตวิทยาคลินิกแต่เพียงผู้เดียว การตีพิมพ์หรือเผยแพร่ซ้ำในที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารฯ
References
เอกชัย คนคิด และ ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถ่ายโอนความรู้ของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 12(1), 67.
Thapar, A., & Riglin, L. (2020). The importance of a developmental perspective in Psychiatry: what do recent genetic-epidemiological findings show. Mol Psychiatry, 25, 1631–1639. doi: 10.1038/s41380-020-0648-1
Vargas, L. Cataldo, J., & Dickson, S. (2005). Domestic violence and children. In G. R.
Walz & R. K. Yep (Eds.), VISTAS: Compelling perspectives on counseling, 2005 (pp.67-69). Alexandria, VA: American Counseling Association.