อิทธิพลของปัจจัยการส่งเสริมการขายออนไลน์ตามแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี และแบบแผนพฤติกรรมที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นทางเว็บไซต์ลาซาด้า

Main Article Content

นนทิยา เนาว์สุวรรณ
ศุภฤกษ์ โพธิไพรัตนา

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยและการส่งเสริมการขายออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านช่องทางเว็บไซต์ Lazada  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นทางเว็บไซต์ลาซาด้า จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม    ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 35 ปี   อาชีพ เป็นพนักงานเอกชน  รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อยู่ระหว่าง  10,000 – 30,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี   สถานภาพโสด  อาศัยอยู่ทางเขตจังหวัดภาคกลาง   ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางเว็บไซต์ลาซาด้าในช่วงเวลา เวลา 12.01 น. – 14.00 น. ซื้อสินค้าจำนวน 2 - 3 ครั้ง / เดือน  และค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการใช้บริการซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางเว็บไซต์ลาซาด้า ในแต่ละครั้งอยู่ที่จำนวนเงิน 200 – 400 บาท ผลการวิจัยพบว่า อิทธิผลของปัจจัยที่มีต่อการซื้อสินค้าแฟชั่นบนเว็บไซต์ลาซาด้าอยู่ในระดับความสำคัญมาก   ด้านที่มีความสำคัญมากที่สุด เรียงตามลำดับคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด และ ความรับรู้พึงความง่ายและประโยชน์  ปัจจัยเพศ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา ส่วนประสมทางการตลาดด้านโฆษณาและการส่งเสริมการขาย  และเจตคติและความตั้งใจเชิงพฤติกรรม มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นทางเว็บไซต์ลาซาด้าด้านช่วงเวลาที่นิยมซื้อสินค้าผ่านลาซาด้า ด้านความถี่ในการซื้อสินค้าผ่านลาซาด้า และด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ย/ครั้งในการใช้บริการลาซาด้า  ตัวแปรสถานภาพ ที่อยู่อาศัย  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอิทธิพลด้านความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง ความเชื่อมั่นในเรื่องระบบควบคุมการใช้งาน ทัศนคติที่มีความตั้งใจที่จะใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ถึงความง่ายส่งผลต่อเจตนาและความตั้งใจเชิงพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถอธิบายความผันแปรของเจตคติและความตั้งใจเชิงพฤติกรรม ได้ร้อยละ 55.0 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพเรศ พิริยพลพงศ์. (2557). ปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โมบายแอพพลิเคชั่น ซื้อสินค้าผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท๊บเล็ตของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติ
แสตมฟอร์ด.
พิชญธิดา ลิ้มสวัสดิวงศ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรัญญา โพธิ์ไพรทอง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์(อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม. และไซเท็กซ์ จำกัด.
สุวรรณา วิริยะประยูร. (2548). พฤติกรรมการแบ่งปันแลก เปลี่ยนความรู้ตามแนวทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2552, จาก: www.mea. or.th/internet/hdd/hdd1.pdf.
อาเซียนอัพดอทคอม. (2019). Top 10 e-commerce sites in Thailand 2019. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562 จาก https://aseanup.com/
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision. Processes, 50, 179-211.
Ajzen, I. (1988). Attitudes, personality, and behavior. Chicago: Dorsey Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9 th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Asean up. (2019). Top 10 e-commerce sites in Thailand 2019. สืบค้นเมื่อ สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์
2561 จาก: https://aseanup.com/top-e-commerce-sites-thailand/
Brand Buffet Team. (2019). สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก “ไทย” เสพติดเน็ตมากสุดในโลก-“กรุงเทพ” เมือง ผู้ใช้ Facebook สูงสุด”. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564 จาก: https://www.brandbuffet.in.th/2018/02/global
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley and Sons, New York.
Dahnil, M. I., Marzuki, K. M., Langgat, J., & Fabeil, N. F. (2014). Factors Influencing SMEs Adoption of Social Media Marketing. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 119 – 126.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 319-340.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: a comparison of two theoretical models. Management science, 35(8), 982-1003.
Fayossy. (2560). อัพเดทตัวเลขผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก ปี 2017. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2560 จาก: https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/digital-in-2017-global-overview
Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to theory and research. Reading, MA: Addison-Wesley.
Kaplan, A. M., & Haenlein, M. (2010). Users of the world unite! the challenges and opportunities of social media. Business Horizons, 53(1), 59–68.
Kotler, P. (1999). Marketing management: An Asian perspective (2nd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Schiffman, Leon G. and Leslie Lazar Kanuk. (1994). Consumer Behavior. 5 th ed. Englewood. New Jersey: Prentice–Hall, Inc.