ปัจจัยการเปิดรับและใช้ประโยชน์สื่อทางการเกษตร ของชุมชนบ้านโปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ปิยะ พละปัญญา
นคเรศ รังควัต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์
จากสื่อทางการเกษตร 2) เพื่อศึกษาทัศนคติในการรับสื่อทางการเกษตร และ 3) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากสื่อทางการเกษตรของชุมชนบ้านโปง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 324 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน


ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติในการรับสื่อทางการเกษตรผ่านบุคคล อยู่ในระดับ
ปานกลาง (3.10) ทัศนคติในการรับสื่อทางการเกษตรผ่านกลุ่ม อยู่ในระดับปานกลาง (2.78) และทัศนคติในการรับสื่อทางการเกษตรผ่านมวลชนอยู่ในระดับมาก (3.51) การใช้ประโยชน์จากสื่อทางการเกษตรกผ่านบุคคล พบว่า ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์จากสื่อทางการเกษตรของเกษตรกรโดยใช้สื่อผ่านบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.85) การใช้ประโยชน์จากสื่อทางการเกษตรกผ่านกลุ่ม อยู่ในระดับปานกลาง (2.60) การใช้ประโยชน์จากสื่อทางการเกษตรกผ่านมวลชน อยู่ในระดับปานกลาง (2.68) การใช้ประโยชน์จากสื่อทางการเกษตรด้านต่างๆ อยู่ในระดับปานกลาง (2.83) ปัจจัยด้านทัศนคติภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ในระดับสูงโดยความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านทัศนคติผ่านบุคคลกับการใช้ประโยชน์จากสื่อทางการเกษตรภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ในระดับ
ปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านทัศนคติผ่านกลุ่มกับการใช้ประโยชน์จากสื่อทางการเกษตรภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
และมีความสัมพันธ์ในระดับสูง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านทัศนคติผ่านมวลชนกับการใช้ประโยชน์จากสื่อทางการเกษตรภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ซึ่งปัจจัยด้านทัศนคติผ่านกลุ่มมีความสัมพันธ์ในระดับสูง จึงจัดลำดับความสัมพันธ์เป็นอันดับที่ 1 ปัจจัยด้านทัศนคติผ่านบุคคลมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง จึงจัดลำดับความสัมพันธ์เป็นอับดับที่ 2 และปัจจัยด้านทัศนคติผ่านมวลชนมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง จึงจัดความสัมพันธ์เป็นอันดับที่ 3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ พวงงามชื่น สวิชญา, ศุภอุดมฤกษ์ตรีรัตน์ และนิศาชล ลีรัตนากร. (2558). คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในอำเภอออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย).เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธีราพร ตันทีปธรรม. (2554). การใช้เฟสบุ๊คที่มีผลกระทบต่อลีลาชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นคเรศ รังควัต. (2546). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย

แม่โจ้.

บำเพ็ญ เขียวหวาน และเจนณรงค์ เทียนสว่าง. (ม.ป.ป.). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตข้าวของเกษตรกร ในจังหวัดกำแพงเพชร (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุหงา ชัยสุวรรณ. (2558). การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคม: ภาพรวมและกรอบแนวคิด. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า. 2(1), 173-197.

บุหลัน กุลวิจิตร. (2560). สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 10(3), 2440-2454. สืบค้น12 มกราคม 2567, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index. php/Veridian-E-Journal/article/view/111365/87007

เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และบำเพ็ญ เขียวหวาน. (2558). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการ เกษตรของเกษตรกร. วารสารสังคมศาสตร์. 4(2), 43-54.

พรทิพย์ บุญนิพัทธ์. (2531). ทัศนคติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. (2563). การส่งเสริมและการพัฒนาชนบท. เชียงใหม่: ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรวุฒิ อ่อนน่วม.(2555). ปรากฏการณ์ทางการสื่อสารยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย. 18(1), 212-220.

อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2562). การใช้สื่อทางการเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารศาสตร์. 12(2), 124-129.

Likert, R. (1961). New Patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company.