การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าไหมลายหางกระรอกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ชุมชนบ้านดู่ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและภูมิปัญญาการทอผ้าไหมลายหางกระรอก 2) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าไหมลายหางกระรอกและ3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการอนุรักษ์และพัฒนาการทอผ้าไหมลายหางกระรอก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ชุมชนบ้านดู่ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักครั้งนี้ คือ ประธานกลุ่มและสมาชิก ปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 30 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า การทอผ้าไหมลายหางกระรอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่มีประวัติอันยาวนาน มีการถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติ มีการจัดตั้งกลุ่มการทอผ้าไหมลายหางกระรอกโดยมีการสร้างเครือข่ายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ชุมชนบ้านดู่ แนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์ควรจัดทำหลักสูตรการทอผ้าให้กับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ และส่งเสริมการบันทึกขั้นตอนและกระบวนการทอผ้าเพื่อเป็นหลักฐานการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมลายหางกระรอกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ชุมชนบ้านดู่ ปัญหาและอุปสรรค พบว่าขาดการสืบทอดจากคนรุ่นใหม่ และขาดการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนด้านความรู้ ทักษะ วัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณ ในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการทอผ้าไหมลายหางกระรอกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ชุมชนบ้านดู่ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2564). มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้. สืบค้น 9 พฤษภาคม 2565, จาก http://ich.culture.go.th/index.php/th/acticleich/1034-----m-s.

กัญญารินทร์ ไชยจันทร์. (2565). ภูมิปัญญาของปราชญ์ท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 17(2), 88-100.

จีรดาภรณ์ อินดี, สุนิสา ล้อลำเลียง, ชนะวงค์ พงษ์แปง, สุภาภรณ์ ตุ้ยตามพันธ์, สุดารัตน์

ปูไฝ และกชามาส แก้วกาศ. (2565). การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของผ้าทอพื้นเมือง ชุมชนบ้านเชิงดอยตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารข่วงผญา. 16(2), 13-25.

เชาวลิต อยู่เกิด, วิจิตรา ศรีสอน และศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแบบยั่งยืน: กรณีศึกษารูปแบบการจัดการขยะชุมชนตลาดสดแฮปปี้แลนด์ใหม่ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(2), 713-726.

ณมน ธนินธญางกูร, วรพจน์ พรหมจักร และสุภิภัตร์ บุญแน่น. (2561). การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายบ้านหนอง กุงจารย์ผาง ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 2(2), 23-34.

ณัฐริกา บุตรศรี, อักษร สวัสดี, วีรพล วีรพลางกูร และนภพร เชื้อขำ. (2563). การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทอผ้าไหมบ้านหลุ่งประดู่ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. 4(1). 56-67.

ธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธิ, วิทยาธร ท่อแก้ว และกมลรัฐ อินทรทัศน์. (2564). รูปแบบการสื่อสารในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา จังหวัดสุรินทร์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(1), 100-117.

ปภัสนันท์ อุ่นเมือง. (2556). วิธีการอนุรักษ์ผ้าหมี่ขิดของชุมชนบ้านนาข่า ตำบลนาข่า อำเภอเมือง จังวัดอุดรธานี (การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประทับใจ สิกขา. (2555). ผ้าทอพื้นเมืองอีสานใต้. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

ปิลันลน์ ปุณญประภา, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, นพดล อินทร์จันทร์ และกิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2561). ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาต่อภูมิปัญญาและการสืบทอดผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อและสังคม. 6(1), 159-168

พจนา สวนศรี และ สมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: สถานบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. มหาวิทยาลัยพายัพ.

ภัทรวดี อัคลา และ การุณย์ บัวเผื่อน. (2558). วิธีการอนุรักษ์ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวบ้านห้วยแคน อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 4(2), 95-101.

มาริสสา อินทรเกิด, ชรินพร งามกมล และวิชุตา อยู่ยงค์. (2561). การอนุรักษ์และสืบสานการทอผ้าไหมมัดหมี่ซิ่นตีนแดงของชุมชนบ้านหัวสะพานอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 10(1), 141-154.

วัฒนะ จูฑะวิภาต.(2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2558). การมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาองค์กร. สืบค้น 3 มีนาคม 2565, จาก http://suthep.crru.ac.th/mgnt37.doc

ศิวาพร พยัคฆนันท์, อัครเดช สุพรรณฝ่าย, พรรณนิการ์ กงจักร, พุฒิพงษ์ รับจันทร์, อาภาพร บุญประสพ และรุจิเรศ รุ่งสว่าง. (2564). การพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวชุมชนผ้าไหมทอมือ ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารธรรมศาสตร์. 40(2), 130-156.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13(พ.ศ. 2566–2570). สืบค้น 9 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/downlond/document/Yearend/2021/plan13.pdf.

สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2565). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดนครราชสีมา ประเด็นการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาระยะ 5 ปี พ.ศ. 2561–2565. สืบค้น 4 มกราคม 2565, จาก https://www2.nakhonratchasima.go.th/content/vision.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. (2565). หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ อำเภอปักธงชัย. สืบค้น 18 มกราคม 2565, จากhttps://district.cdd. go.th/pakthongchai/service/one-tambon-one-product/

อรณิชชา ทศตา, สุกัญญา ใจอดทน และจันทร์จิรา ใจอดทน. (2560). การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทอผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(1). 117-128.

อรุณรัตน์ จำปากุล, สุทัศน์ ประทุมแก้ว และพระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ. (2565). การพัฒนาหัตถกรรมผ้าไหมเชิงพุทธของชุมชนบ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 7(3), 912-922.

B. Saheb Zadeh & Nobaya Ahmad. (2010). Participation and Community Development. Current Research Journal of Social Sciences. 2(1), 13-14.

The Association of Southeast Asian Nations (ASEAN). (2016). ASEAN Community Based Tourism Standard. Jakarta: ASEAN Secretariat.

World Tourism Organization. (2005). Making Tourism More Sustainable A Guide for Policy Makers. Retrieved August 19, 2022, from https:// wedocs.unep.org/bitstream/handle/20.500.11822/8741/Making%20Tourism%20More%20Sustainable_%20A%20Guide%20for%20Policy%20Makers2005445.pdf?sequence=3&isAllowed=y.