จริยธรรมการบริหารงานภาครัฐ: บทการทบทวนวรรณกรรม

Main Article Content

ทวนธง ครุฑจ้อน
ทวนธง ครุฑจ้อน

บทคัดย่อ

จริยธรรมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในทุกสถานภาพทางสังคมรวมถึงการบริหารงานภาครัฐ จริยธรรมถูกนำเข้าไปผสมผสานให้เข้ากับนโยบาย หลักการ และวิธีการบริหารงานขององค์การภาครัฐ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์เชิงสาธารณะ นวัตกรรม การปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมถึงสิทธิมนุษยชน บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานว่าด้วยจริยธรรม ภูมิหลังและทฤษฎีว่าด้วยจริยธรรม ปัจจัยที่ก่อให้เกิดพลวัตทางจริยธรรม เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรม จริยธรรมในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ และจริยธรรมการบริหารงานภาครัฐในบริบทสังคมทั่วไปและบริบทสังคมไทย ทั้งนี้ จริยธรรมคือระบบของการตระหนักถึงคุณธรรมของมนุษย์ที่พึงมีสำหรับการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันเพื่อก่อให้เกิดความสงบหรือความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งทฤษฎีว่าด้วยจริยธรรมมีพัฒนาการมา 3 สมัยคือ สมัยดั้งเดิม สมัยกลาง และสมัยใหม่ โดยปัจจัยด้านสังคมและด้านจิตวิทยาเป็นแรงผลักให้เกิดพลวัตทางจริยธรรม ส่วนเกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมถูกกำหนดตามทัศนะที่แตกต่างกันของกลุ่มนักวิชาการ จุดมุ่งหมายของความเป็นศาสตร์ระหว่างจริยศาสตร์และรัฐศาสตร์ คือ จริยศาสตร์มุ่งความดีทางศีลธรรมของปัจเจกชนและรัฐศาสตร์มุ่งความสันติสุขความมั่นคงของสาธารณชน สำหรับจริยธรรมการบริหารงานภาครัฐในบริบทสังคมทั่วไปเน้นเรื่องการปฏิบัติงาน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้บริหาร ส่วนบริบทสังคมไทยเน้นเรื่องหลักธรรมทางศาสนาและหลักกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจริญ ศรประดิษฐ์. (2542). จริยธรรมกับชีวิต. สุราษฎร์ธานี : สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

เฉลิมเกียรติ ผิวนวล. (2532). มนุษย์คือชีวิตเล็ก ๆ ที่งดงาม: ความคิดทางจริยศาสตร์ของชูเมกเกอร์. นนทบุรี : สมิต.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ :

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

น้อย พงษ์สนิท. (2527). จริยศาสตร์. เชียงใหม่ : มิตรนราการพิมพ์.

บุญมี แท่นแก้ว. (2539). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 1-127.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.

พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรมพุทธศักราช 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 1-50.

สาโรช บัวศรี. (ม.ป.ป.). การเสริมสร้างจริยธรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2537). การสัมมนาผู้บริหารระดับสูงและผู้ทรงคุณวุฒิ. กรุงเทพฯ :

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

British Broadcasting Corporation. (2014). Ethics guide. Darlington : BBC. Retrieved February 6, 2021, from http://www.bbc.co.uk/ethics/introduction/intro_1.shtml.

Becker, L. C. & Becker, C. B. (2003). A history of western ethics. (2nd ed.). New York : Routledge.

Ewing, A. C. (1953). Ethics. New York : The Free Press.

Harvard University. (2021). Dominance and difference: Ethics politics in comparative perspective or global ethics politics. Massachusetts: Department of Government, Harvard University.

Johnson, B. J. (2017). Codes of ethics, public values, and what public servants offer the bureaucratic compact. International Journal of Organization Theory & Behavior. 17(4), 459-497.

Johnson, D. T. (2019). The Importance of ethics in public service. PA TIMES Online. Retrieved March 30, 2021, from https://patimes.org/the-importance-of-ethics-in-public-service.

Malagueño, R., Pillalamarri, S., Rezende, A.J. & Moraes, M. B. D. C. (2020). The effects of length of service and ethical ideologies on moral development and behavioral intentions: A study among Brazilian public sector tax auditors. Journal of Applied Accounting Research. 21(40), 589-613.

Mills, J. (1999). Ethics in governance: Developing moral public service. Journal of Financial Crime. 7(1), 52-62.

Mion, G. & Bonfanti, A. (2019). Drawing up codes of ethics of higher education institutions: evidence from Italian universities. International Journal of Educational Management. 33(7). 1526-1538.

National University of Singapore. (2021). Modules listing by subfields. Retrieved May 6, 2021, form https://fass.nus.edu.sg/pol/listing-by-subfields

Salin, A. S. A. P., Manan, S. K. A. & Kamaluddin, N. (2019). Ethical framework for directors – learning from the prophet. International Journal of Law and Management. 62(2), 71-191.

Shakeel, F., Kruyen, P. M. & Van Thiel, S. (2020). Ethical leadership: A structured review into construct, measurement, public sector context and effects. International Journal of Public Leadership. 16(1), 88-108.

Stanford University. (2021). Stanford University bulletin explore courses. Retrieved May 6, 2021, form https://explorecourses.stanford.edu

Svensson, G. & Wood, G. (2004). Public sector ethics in Sweden: a 4P‐model of internal and external determinants in codes of ethics. Corporate Governance. 4(3), 54-64.

Svensson, G., Wood, G. & Callaghan, M. (2004). The commitment of public sector Sweden to codes of ethics. International Journal of Public Sector Management. 17(4), 302-331.

The University of Hong Kong. (2021). Courses and timetables undergraduate courses. Retrieved May 6, 2021, form https://ppaweb.hku.hk

Tjandra, N. C., Aroean, L. & Prabandari, Y. S. (2020). Public evaluation of the ethics of tobacco marketing in Indonesia: symbiotic ethical approach. Qualitative Market Research. 23(4), 603-626.

Rosenbaum, A. (1998). Ethics and professionalism in a time of transition: Some final thoughts. Journal of NIDA Public Administration Association. 3, 101-108.

Uhr, J. (2006). Professional ethics for politicians? In Saint-Martin, D. and Thompson, F. (Ed.), Public ethics and governance: Standards and practices in comparative perspective. Bingley : Emerald Group.

Universiti Utara Malaysia. (2021). Program structure for BPM (Hons). Retrieved May 6, 2021, form http://sog.uum.edu.my/index.php