การวิเคราะห์การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมเพื่อการผลิตซ้ำตำนานอินทขิล

Main Article Content

ลัดดา จิตตคุตตานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมเพื่อการผลิตซ้ำตำนานอินทขิล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตำนานอินทขิลทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา ศึกษาการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงความหมายของตำนานอินทขิลที่ปรากฎในตำนานอินทขิลชุดต่าง ๆ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่และเปลี่ยนแปลงของตำนานอินทขิล ๆ โดยใช้แนวคิดประเพณีการเลือกสรร (Tradition of Selection) ของ Raymond Williams  เป็นแนวทางในการวิเคราะห์  ผลจากการวิจัยพบว่า ตำนานอินทขิลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตำนานสุวรรณคำแดง ตำนานอินทขิลฉบับสมโภช 600 ปี พระธาตุเจดีย์หลวง และตำนานอินทขิลตามคำบอกเล่ามีการเปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหาสาระเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหลังของผู้สร้างตำนาน โดยตำนานอินทขิลทั้งสี่ชุดถูกสร้างให้เปลี่ยนแปลงไปในเรื่องของชาวเมือง ผีร้าย สถานที่ที่เกี่ยวข้อง การแสดงความไม่เคารพสักการะกุมภัณฑ์สองตนและเสาอินทขิล ผู้บอกวิธีการสร้างเสาอินทขิล และวิธีการสร้างเสาอินทขิล และปัจจัยด้าน ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สาร และสื่อเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของตำนานอินทขิล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพรรณ วิบูลยศริน. (2547). การเปรียบเทียบภาพตัวแทนของผู้หญิงสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ในภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์อเมริกัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษณ์ คำนนท์. (2552). การสร้างภาพตัวแทนด้วยการแต่งหน้าเพื่อสื่อความหมายลักษณะตัวละครของละครโทรทัศน์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่. (2536). การวัฒนธรรม. เชียงใหม่: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่.

เจริญวิทย์ ฐิติวรารักษ์. (2544). การสร้างสารสนเทศและภาพตัวแทนของชายรักชายในเว็บไซต์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญจิรา ศรีคำ. (2552). การสื่อสารกับการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดพิธีกรรมสามปีสี่รวงข้าวของชุมชนไทลื้อบ้านล้า อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พนิดา หันสวาสดิ์. (2544). ผู้หญิงในภาพยนตร์ : กระบวนการผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรา รุ่งสุข. (2544). วาทกรรมของนักวิจัยชายและหญิงเรื่องเพศกับวัยรุ่นและการผลิตซ้ำของหนังสือพิมพ์(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญศรี จุลกาญจน์. (2540). การผลิตซ้ำอุดมการณ์เกี่ยวกับบทบาทและสถานภาพของหญิงและชาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลัดดา จิตตคุตตานนท์. (2552). การวิเคราะห์การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมเพื่อการดำรงอยู่และสืบทอดประเพณีบูชาอินทขิล (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร ไฝศิริ. (2544). การสร้างสรรค์ในการผลิตซ้ำซ้ำภาพยนตร์ไทยจากตำนาน "แม่นากพระโขนง" (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร. (2539). บันทึกประเพณีไทย ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สมสุข หินวิมาน. (2548). ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 8- 15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุธีรา อินทรวงศ์. (2542). กระบวนการผลิตซ้ำข้ามวัฒนธรรมของรายการ ที่ได้รับลิขสิทธิ์จากต่างประเทศของสถานีโทรทัศน์ยูบีซี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.