การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสำหรับนักเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สำหรับนักเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และ3) ศึกษาความตระหนักในการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ขั้นการวางแผน ระยะที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ ระยะที่ 3 ขั้นสังเกตการณ์และบันทึกผล และระยะที่ 4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จำนวน 20 กิจกรรม 2) ประสิทธิผลการใช้กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พบว่า (1) นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนมีทักษะการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ3) นักเรียนมีความตระหนักในการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หลังผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปแล้ว 4 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กระทรวง. (2563). กิจกรรมส่งเสริมไอซีทีในการเรียนรู้ เรื่อง COVID-19 สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพ : สำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ควบคุมโรค, กรม. (2563). แนวทางการบริหารจัดการการควบคุมโรคในสถานการณ์ที่กัดกันซึ่งทางราชการกำหนด. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข

เฉลิมชัย เลี้ยงสกุล. (2563). การศึกษาในยุค COVID-19. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเสนาธิการทหาร.

ดนชิดา วาทินพุฒิพร และธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาวะให้แก่แรงงานข้ามชาติ. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10(1), 502-518.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีรยาสาส์น.

พร บุญมี สุทธินี มหามิตร วงศ์แสน และ ทิติยา กาวิละ. (2561). ความรู้ การรับรู้และความตระหนักต่อการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วยในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 11(3), 112-124.

วรรณกร ศรีรอด ณัฏฐากุล บึงมุม และ สุวิมล พนาวัฒนกุล. (2560). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคระบาดในชุมชนสำหรับผู้ใหญ่บ้านโดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบกลุ่มร่วมมือแบบ BBL: กรณีศึกษา ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลเสอเพลอ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 “การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. (น.233-243). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. (2563). ข้อมูลสารสนเทศนักเรียน. พระนครศรีอยุธยา : (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด (COVID-19). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ

อนงค์รัตน์ รินแสงปิน. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับแกนนำเด็กและเยาวชนตำบลหลวงใต้. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 5(1), 1-24.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ และปัณณวิทย์ ปิยะอร่ามวงศ์. (2563). การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาในโรงเรียนภายใต้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): แนวคิดและแนวปฏิบัติ. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 14(3), 192-202.

Bloom, B. S. (1976). Human characteristic and school learning. New York : McGraw-Hill.

Goldstein, I. L. (1993). Training in organizations: Need assessment development and evaluation (3rd ed.). Pacific Grove, CA: Brooks/ Cole.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York : Wiley & Son.

Nadler, L. & Nadler, Z. (1990). The handbook of human resource development (2nd ed.). Toronto: John Wiley & Sons.

Oliva, P. F. (2009). Developing the Curriculum (7th ed.). Boston : Allyn and Bacon.

Sanghi, S. (2016). The handbook of competency mapping: understanding, designing and implementing competency models in organizations. India : SAGE.