การจัดเก็บและค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศล้านนาของสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

แพรวนภา ศรีวรรณตัน
วรรษพร อารยะพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดเก็บและการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศล้านนาของสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1) บรรณารักษ์ จำนวน 7 คน และ 2) ผู้ใช้บริการ จำนวน 12 คน จากสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 7 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า ด้านการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศล้านนา ส่วนใหญ่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศล้านนา ด้วยวิธีการจัดซื้อ การขอหรือรับบริจาค และมีสถาบันบริการสารสนเทศบางแห่งผลิตหนังสือขึ้นเองและทำสำเนาจากห้องสมุดอื่น  ด้านการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศล้านนา มีการจัดหมวดหมู่ให้กับทรัพยากรสารสนเทศล้านนาประเภทวัสดุตีพิมพ์โดยใช้ระบบทศนิยมดิวอี้ ส่วนทรัพยากรสารสนเทศล้านนาประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ใช้หลักการจัดเรียงตามรูปแบบการบันทึกและจัดเรียงตามเลขทะเบียน ด้านการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศล้านนา สถาบันบริการสารสนเทศทุกแห่งมีการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศล้านนาประเภทวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล และด้านการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศล้านนาในสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ผู้ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในกลุ่มเนื้อหาความรู้ด้านประวัติศาสตร์ มีความถี่ในการค้นคืน 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ (OPAC) ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีวิธีการกำหนดคำค้นด้วยการคิดคำค้นขึ้นเอง มีลักษณะเป็นคำสำคัญ (Keyword) คำศัพท์อิสระ (Free term) เป็นภาษาธรรมชาติ (Natural Language) และเป็นคำเฉพาะเจาะจง โดยใช้ภาษาถิ่นและภาษาไทยในการค้นคืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. (ม.ป.ป.). หัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2564, จากhttps://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php

จามจุรี จิโนสวัสดิ์. (2560). การจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชลวิทย์ จิตมาน. (2561). การราบรวมและวิเคราะห์หัวเรื่องสมุนไพรไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เชียงใหม่, มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรม. (2556). ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, จากhttps://www.lanna-arch.net/

เชียงใหม่, มหาวิทยาลัย โครงการล้านนาคดีศึกษา. (2557). ล้านนาคดีศึกษา. เชียงใหม่: โครงการล้านนาคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เชียงใหม่, มหาวิทยาลัย ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (2529). สถานภาพล้านนาคดีศึกษา. เชียงใหม่: ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เชียงใหม่, มหาวิทยาลัย สำนักงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์. (2562). Creative Lanna. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, จากhttps://creativelanna.cmu.ac.th/

โชคธำรง จงจอหอ และมาลี กาบมาลา. (2560). พฤติกรรมการแสวงหาความรู้ภูมิปัญญาข้าวไทย. วารสารอินฟอร์เมชั่น. 24(1), 70-89.

ณภัทร ฉิมพาลี. (2560). การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทยด้านวัฒนธรรมล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภัสกร กรวยสวัสดิ์. (2559). การบูรณาการแนวคิดของปัจเจกวิธาน(FOLKSONOMY)ในการสร้างหัวเรื่องสำหรับทรัพยากรสารสนเทศในสาขาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นภัสกร กรวยสวัสดิ์, ลำปาง แม่นมาตย์ และมาลี กาบมาลา. (2561). พฤติกรรมการเข้าถึงสารสนเทศและการใช้คำศัพท์ในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ สาขาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ของผู้ใช้. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 36(1), 69-108.

ประกายดาว ศรีโมรา. (2541). การใช้รายการเข้าถึงแบบออนไลน์ของข่ายงานสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยวิเคราะห์จากบันทึกสถิติการสืบค้น (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพรรณ จันทร์แดง. (2557). ห้องสมุดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พัฑรา พนมมิตร. (2560). การพัฒนาออนโทโลยีความรู้ด้านผ้าล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รื่นฤดี ไชยวิชิตกุล. (2546). ความสามารถในการกำหนดคำค้นเพื่อการค้นหาสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ระเบียบ สุภวิธี.(2555). แหล่งสารสนเทศสำหรับงานบริการสารสนเทศเพื่อช่วยการค้นคว้า. นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัลลภา ปัญญาวงศ์. (2539). การใช้และความต้องการสารนิเทศของนักวิจัยสาขาล้านนาคดีศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภวรรณ อาจกล้า. (2559). พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมพร พุทธาพิทักษ์ผล, วรนุช สุนทรวินิต, นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์, พรทิพย์ สุวันทารัตน์, ศิริน โรจนสโรช, เครือทิพย์ เจียรณัย, และชัยวัฒน์ น่าชม. (2553). การจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษา เพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน. (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมหมาย เที่ยงในญาติ. (2550). หัวเรื่องภาษาไทยด้านการท่องเที่ยว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สีปาน ทรัพย์ทอง. (2558). การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา สารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 9-15. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุฑารัตน์ คำโสภา. (2550). หัวเรื่องภาษาไทยด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรชร โอทองคำ. (2550). หัวเรื่องภาษาไทยสาขาการบัญชี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อังคณา แวซอเหาะ และสุธาทิพย์ เกียรติวานิช. (2555). การค้นคืนสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Anfinnsen, S., Ghinea, G., & de Cesare, S. (2011). Web 2.0 and folksonomies in a library context. International Journal of Information Management. 31, 63-70.

Carman, N. (2009). LibraryThing Tags and Library of Congress Subject Headings: a Comparison of Science Fiction and Fantasy Works. (Master of thesis). Victoria University of Wellington

Choo, C.W. (2002). Information management for the intelligent organization: The Art of scanning the environment. 3rd ed. Medford, N.J.: Published for the American Society for Information Science and Technology.

Dewey, M. (2003). Dewey decimal classification and relative index. 22nd ed. Dublin, Ohio: OCLC, Online Computer Library Center.

Kumbhar, R. (2012). Library Classification Trends in the 21st Century. Witney: Chandos Publishing.

Larissah. (2007). PennTags: University of Pennsylvania Public Library. Retrieved December 12, 2020, from https://larissah.wordpress.com/2007/12/06/penntaggs/

Library of Congress. (n.d.). Library of Congress Classification Outline. Retrieved February 19, 2021, fromhttps://www.loc.gov/catdir/cpso/lcco/

Lu, C., Park, J., & Hu, X. (2010). User tags versus expert-assigned subject terms: A comparison of LibraryThing tags and Library of Congress Subject Headings. Journal of Information Science. 36(6), 763-779.

Mendes, L., Quinonez-Skinner, J., & Skaggs, D. (2009). Subjecting the catalog to tagging. Library Hi Tech. 27(1), 30-41.

Noruzi, A. (2006). Folksonomies: Uncontrolled Vocabulary. Knowledge Organization. 33(4), 199-203.

Rahman, A.I.M. Jakaria. (2012). Social tagging versus Expert created subject headings. (Master of thesis). Oslo and Akershus University College of Applied Sciences

Steele, T. (2009). The New cooperative cataloging. Library Hi Tech, 27(1). 68-77.

Wal, T. V. (2005). Folksonomy Definition and Wikipedia. Retrieved December 12, 2020, fromhttp://www.vanderwal.net/random/entrysel.php?blog=1750