พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ บุคลากรภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาระดับของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนรวมทั้งสิ้น 245 คน
วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้น โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test หรือ One Way ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. บุคลากรภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลในทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก 2.บุคลากรภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีระดับของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบระดับของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีระดับของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. วารสารอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ. 4, 27-28.
นภาพรรณ วงศ์มณี. (2553). การนำแนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน: กรณีศึกษาชุมชนทรายทอง ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปริศนา โลมากุล. (2558). การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรท แสงสว่างวัฒนะ. (2558). รูปแบบการดำเนินชีวิตและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานที่ออกกำลังกายของกลุ่มผู้บริโภคที่เคยใช้บริการสถานที่ออกกำลังกายในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิวัฒน์ ศัลยกำธร. (2552). ศูนย์เรียนรู้ทางไกลเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธราช.
ศศิเพ็ญ พวงสายใจ, วัชรี พฤกษิกานนท์, พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์, สุขุม พันธุ์ณรงค์, และพิมลพรรณ
บุญยะเสนา. (2554). การประเมินผลเปรียบเทียบในมิติต่าง ๆ ของประชาชน การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมพร เทพสิทธา. (2550). ดวงประทีปจากพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554).
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2548). พึ่งตนเอง. วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 4, 27-29.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2562). โครงสร้างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (ม.ป.ท.)
สุภัทรา บุญปัญญโรจน์. (2550). แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: มติชน.