กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อระบบการเกษตรกรรมยั่งยื
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ชุมชนป่าต้นน้ำบนพื้นที่สูง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยได้แก่ 1. กลุ่มผู้นำชุมชน/ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน 2. ตัวแทนประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านต้นแบบ จำนวน 60 คน 3. ตัวแทนกลุ่มองค์กร/หน่วยงานที่ทำงานภายในพื้นที่ จำนวน 15 หน่วยงาน 4. กลุ่มองค์กร/หน่วยงานนอกพื้นที่ จำนวน 10 หน่วยงาน รวมทั้งหมด 90 คน และ 25 หน่วยงาน ซึ่งการวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและวิเคราะห์เชิงพรรณนาโดยการตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลด้วยวิธีตรวจสอบแบบสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ชุมชนป่าต้นน้ำบนพื้นที่สูง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ สามารถแบ่งกระบวนการหรือขั้นตอนการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ชุมชนป่าต้นน้ำ ได้แก่ 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคภาพรวมของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ชุมชนป่าต้นน้ำบนพื้นที่สูง 2. การวางระบบกลไกความร่วมมือของหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ชุมชนป่าต้นน้ำบนพื้นที่ 3. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ระดับตำบลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ชุมชนป่าต้นน้ำบนพื้นที่สูง 4. การสร้างจิตสำนึกร่วมและการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ดิน น้ำ และป่า) 5. การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ชุมชนป่าต้นน้ำบนพื้นที่ และ 6. แนวทางการดำเนินการตามระเบียบ และกฎหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่เขตป่าสงวน
Article Details
References
คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. (2558). แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำ. สืบค้น 15 เมษายน 2563, จาก http://irre.ku.ac.th/rreport/pdf/บทสรุปผู้บริหารแผน
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ.pdf
เจริญผล สุวรรณโชติ. (2544). ทฤษฎีบริหาร. กรุงเทพฯ : อักษรไทย.
ดวงพร อ่อนหวาน และคณะ. (2556). การพัฒนาแนวทางการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคของชุมชน
บ้านดงสามหมื่น ตำบลแม่แดด อำเภอกลัยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่(รายงานการวิจัย). เชียงใหม่ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพ.
นพวรรณ บุญธรรม สุรพล ด้ารงกิตติกุล และ ไกรสีห์ พิสิษฐ์กุล. 2558. การพัฒนาระบบและ กลไกการมีส่วนร่วม
ของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคของชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ.
วารสารการพัฒนาชุมชนและ คุณภาพชีวิต. 4(1): 60 –74.
มุรธาธีร์ รักชาติเจริญ. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำทางการเกษตรอย่างยั่งยืนของ
ชุมชนในลุ่มน้ำล้าเชียงไกร. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 76–87.
วิทยาลัยบริหารศาสตร์. (2560). บทสรุปการสร้างกระบวนทัศน์การบูรณาการแผนงานผ่านองค์ความความรู้ภูมิ
ปัญญาชุมชนและการสร้างพื้นที่ทางจิตวิญญาณเพื่อปกป้องอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1 . เชียงใหม่ : หจก.วนิดาการพิมพ์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุกิตติยา บญุหลาย และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
ยั่งยืนกรณีศึกษา : ตำบลท่ากระเสริมอำเภอน้ำพอง จังหวดัขอนแก่น. Veridian E-Journal,
Silpakorn University , 10(2), 1771-1784.
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2562). คืนชีวิตให้อำเภอแจ่ม. สืบค้น 15 เมษายน 2563,
จาก https://www.mhesi.go.th/main/th/knowledge/165-practical-rad/8116-2019-05-02-07-
01-20.
อัจฉรา พิเลิศ และวุฒิศักดิ์ ทะนวนรัมย์. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรน้ำสู่ความยั่งยืนอย่างมี
ส่วนร่วมของชุมชนบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารการพัฒนาชุมชนและ คุณภาพชีวิต.
6(2): 453 - 462.