ภูมิทัศน์ในความทรงจำจากตัวบทนวนิยายเรื่องบ้านในโคลนของกิตติศักดิ์ คเชนทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิทัศน์ในความทรงจำจากตัวบทนวนิยายเรื่องบ้านในโคลนของกิตติศักดิ์ คเชนทร์ วิธีการศึกษาใช้แนวคิดภูมิทัศน์ของความทรงจำเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ร่วมกับองค์ประกอบของตัวบท ผลการศึกษา พบว่า ความทรงจำที่บันทึกผ่านตัวบท ปรากฏมโนทัศน์ที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยเชื่อมโยงไปตามลำดับเวลา คือ ช่วงเวลาแห่งความสุขและความหวัง ช่วงเวลาของการ ดิ้นรนเอาตัวรอด และช่วงเวลาของการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ช่วงเวลาดังกล่าว ประกอบด้วยมโนภาพ 7 มิติ ดังนี้ 1) บ้านของครอบครัว 2) สังคมเครือญาติ 3) การอบรมกล่อมเกลาลูกหลาน 4) กีฬาพื้นบ้านของเด็ก 5) ความสัมพันธ์ระหว่างคนต้นน้ำกับระบบนิเวศ 6) การเอาตัวรอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และ 7) การเริ่มต้นความทรงจำใหม่ของครอบครัวที่เหลือรอด มโนภาพเหล่านี้ คือภาพสะท้อนปฏิบัติการของความทรงจำ ที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเคยกระทำและมีประสบการณ์มาก่อน ตัวบทจึงเป็นเสมือนพื้นที่บันทึกความทรงจำ และทำหน้าที่จดจำเหตุการณ์ สถานที่ และความรู้สึกร่วมของกลุ่มคน
Article Details
References
กิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กิตติศักดิ์ คเชนทร์. (2559). บ้านในโคลน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และเกรียงไกร เกิดศิริ. (2559). เรือนแถวพื้นถิ่นในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ตลาดล่าง
ถนนพระราม จังหวัดลพบุรี. Academic Journal: Faculty of Architecture, Khon Kaen
University. 15 (1), 77-98.
ชัยยนต์ ทองสุขแก้ง. (2559). แนวคิดหลังความทรงจำและภูมิศาสตร์วรรณศิลป์ในนวนิยายเรื่อง The Narrow Road
to the Deep North (2013) ของ ริชาร์ด เฟลเนอกัน. คลุมเครือ เคลือบแคลง เส้นแบ่งและพรมแดนในมนุษยศาสตร์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 10 ณ โรงแรมราชมังคลา สงขลา เมอร์เมด อ.เมือง สงขลา วันที่ 19-20 กันยายน 2559 (หน้า 437-456). นครศรีธรรมราช : โรงพิมพ์กรีนโซนการพิมพ์..
ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์. (2554-2555). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติการตั้งถิ่นฐาน. วารสารหน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม
การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. 26, 1-32.
ปริศนา กาญจนกันทร และ สุพรรณี ไชยอำพร. (2562). ตัวแบบความสัมพันธ์ในครอบครัวไทยยุคโลกาภิวัตน์. วารสาร
พัฒนาสังคม. 21(2), 164-175.
ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์, เกรียงไกร เกิดศิริ และอรศิริ ปาณินท์. (2558). บริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อการก่อตัวและการพัฒนา
ของตึกแถว ในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง. หนาจั่ว: วาดวยสถาปตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดลอม. 29, 205-222.
ภาสุรี ลือสกุล. (2562). ภาพความทรงจําอาณาจักรอินคาและอาณาจักรอยุธยาในนวนิยายรวมสมัย: กรณีศึกษา
สายน้ําลึก (Los ríos profundos) และ เรือนมยุรา. วารสารอักษรศาสตร์. 48(1), 97-119.
มานะ ขุนวีช่วย. (2560). ชุมชนมะนัง จังหวัดสตูล จากพื้นที่ประวัติศาสตร์ และมรดกความทรงจำ. วารสาร
มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 12(1), 237-260.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ : ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :
ราชบัณฑิตยสถาน.
วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน. (2560). ครอบครัวทางเลือกและการคงอยู่ของสถาบันครอบครัว. วารสาร Veridian E-
Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 1817-1827.
สะอาด ศรีวรรณ, สัญญา เคณาภูมิ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). ความเข้มแข็งทางสังคมบนฐานสถาบันครอบครัว.
วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4(2), 93-111.
สุริยะ ฉายะเจริญ. (2561). ลักษณะโดยทั่วไปของภาพร่างเพื่อเป็นภาพแทนภูมิทัศน์เมืองของกรุงเทพมหานครที่
เผยแพร่ในเฟซบุ๊ก. นิเทศสยามปริทัศน์. 17(22), 17-22.
อริยา อรุณินท์. (2549). “อนุสรณ์สถาน”: ภูมิทัศน์แห่งความทรงจำ. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2, 79-102.
อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์. (2560). ความหมายของพื้นที่ เงื่อนไขของความทรงจำ : ความสัมพันธ์ระหว่างความทรงจำ
กับการให้ความหมายของพื้นที่บ้านห้วยกบ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 43(2), 155-186.
Connerton, Paul. (1989). How Societies Remember. United Kingdom: Cambridge University.
Maus, G. (2015). Landscapes of memory: a practice theory approach to geographies of
memory. Geographica Helvetica. 70(3), 215-223
Müller, L. (2009). Landscapes of Memory: Interpreting and Presenting Places and Pasts
Landscape Artchitecture in South Africa A Reader. Pretoria: UNISA Press.