องค์ประกอบการสื่อสารและกลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงความคิดเห็นในเพจโรคซึมเศร้า: การศึกษาตามแนวปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์

Main Article Content

ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์

บทคัดย่อ

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อจิตใจและการทำงานของผู้คนจำนวนมากในสังคมไทยปัจจุบัน บทความวิจัยนี้จึงมุ่งวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสารและกลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงความคิดเห็นในเพจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เก็บข้อมูลจากเพจสาส์นจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและเพจโรคซึมเศร้าที่รัก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 พฤษภาคม 2563 ผลการวิเคราะห์พบว่า ด้านองค์ประกอบการสื่อสารเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เพจเฟซบุ๊กถือเป็นสื่อใหม่ที่เรียกว่า “ปริจเฉทเฟซบุ๊ก” (facebook discourse) และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลของกลุ่มคนที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันเพื่อแสดงความคิดเห็นตามความคิดและทัศนะของตนโดยใช้น้ำเสียงแสดงความเข้าใจและความห่วงใย ส่งผลต่อบรรทัดฐานของการปฏิสัมพันธ์และการตีความที่ใช้ถ่ายทอดเรื่องราวและให้กำลังใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยใช้กลวิธีทางภาษา 13 กลวิธี ได้แก่ การแสดงความรู้สึกและความต้องการของผู้แสดงความคิดเห็น การให้กำลังใจ การกล่าวเปรียบเทียบ การแสดงความเห็นด้วยหรือคล้อยตาม การให้เหตุผล การแสดงความเห็นแย้ง การตัดพ้อ การกล่าวถึงเหตุการณ์หรือประสบการณ์ของผู้แสดงความคิดเห็น การขอคำแนะนำหรือคำปรึกษา การให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา การขอความเห็นใจ การใช้คำถามวาทศิลป์ และการบริภาษ กลวิธีทางภาษาเหล่านี้ด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และอีกด้านหนึ่งยังแสดงให้เห็นถึงความเข้าอกเข้าใจในฐานะเพื่อนหรือที่ปรึกษาของผู้ร่วมเหตุการณ์การสื่อสารทั้งที่ป่วยและไม่ได้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ดังนั้นเพจโรคซึมเศร้าในเฟซบุ๊กจึงไม่ได้ทำหน้าที่สร้างความเข้าใจระหว่างผู้ป่วยกับผู้ร่วมเหตุการณ์การสื่อสารในเพจเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับคนในสังคมด้วย เพราะการเยียวยารักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือกันทั้งบุคลากรทางสาธารณสุข ผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และ ธีรนุช โชคสุวณิช. (2551). วัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงาน

วิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กสทช. (2562). เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2563, จาก https://bit.ly/3bGW9kj.

คันธรส สุขกุล และ ปราโมทย์ วงสวัสดิ์. (2562). ภาวะซึมเศร้าในประชากรวัยแรงงาน: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางการดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า. 30(2), 229-238.

จันทิมา อังคพณิชกิจ อธิชาติ โรจนะหัสดิน และทรงพล อินทเศียร. (2563). ภาษา การสื่อสารและโรคซึมเศร้า: การสำรวจเบื้องต้นเพื่อเข้าใจโรคซึมเศร้าและผู้มีภาวะซึมเศร้าในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2549). มองคัทลียาจ๊ะจ๋า จากมุมนักภาษา: เนื้อหาและกลวิธี. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). เอกสารคำสอนรายวิชา 2201783 การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา).

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตฤณธวัช วงษ์ประเสิรฐ และ กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊กของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า. 3(2), 29-46.

ธรณินทร์ กองสุข. (มปป.). โรคซึมเศร้ารักษาหายได้. พิมพ์ครั้งที่ 10. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท

นันทภัค ชนะพันธ์. (2563). ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า: บทบาทพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วย.

วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 32 (1), 75-88.

นันทิรา หงศ์ศรีสุวรรณ์. (2559). ภาวะซึมเศร้า. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2563, จาก https://bit.ly/2Z8Fx2a.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 28 (4), 280-291.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ, ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์, ประภัสสร จันทร์สถิตพร และ พรทิพย์ ชนะค้า (2552). การใช้การสื่อสารแบบไวรัลผ่นทางฟอร์เวิร์ดเมลและผลการตอบสนองของผู้รับสาร. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2563, จาก https://bit.ly/2LBZmXL.

ราชบัณฑิตยสภา. (2556). พจนานุกรมศัพท์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2551). เนื้อหาของสารสนเทศในบอร์ดหาคู่สนทนาทางอินเทอร์เน็ต. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2563, จาก https://bit.ly/2X2PxHE.

ศตวรรษ จำเพียร และ ณัฐพล อัสสรัตน์. (2562). อิทธิพลของคุณประโยชน์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจต่อความเชื่อมมั่นแลความยึดมั่นในแบรนด์: กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแฟนเพจร้านอาหาร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 41(161), 133-164.

ศิริพร จิระวัฒน์กุล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ธรณินทร์ กองสุข และจรูญศรี มีหนองหว้า. (2541). การพัฒนากลวิธีและเทคโนโลยีส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าในประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2563, จาก https://bit.ly/3bCvrcy.

สถิตย์ วงศ์สุรประกิต และสมพร สันติประสิทธิ์กุล. (2555). สถานการณ์โรคซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยงโดยการตรวจคัดกรองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล. 27(3), 91-105.

สาธารณสุข, กระทรวง. (2564). รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564. (อัดสำเนา)

สาวิตรี วิษณุโยธิน และ นชพร อิทธิวิศวกุล. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 16(1), 5-22.

สุขภาพจิต, กรม คณะทำงานจัดทำแนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. (2553). แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้า. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

สุขภาพจิต, กรม ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย และสถานบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2560). แนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2552). วัจนปฏิบัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

สุรีรักษ์ วงทิพย์. (2561). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อดึงดูดผู้บริโภคในยุคดิจิทัล.

วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 15(1), 21-36.

Angkapanichkit, J. (2014). The Ethnographic Discourse Analysis of Health Communication on Depression in Thailand.Paper presented in Proceedings 12th Asia Pacific Sociological Association (APSA)

Brown, G. and Yule, G. (1983). Discourse Analysis. Cambridge: Cambridge University Press.

Davis, B and J. P. Brewer. (1997). Electronic Discourse: Linguistic Individuals in Virtual Space. New York: State University of New York Press.

Eichstaedt C, J. et all. (2018). Facebook language predicts depression in medical records. Retrieved March 25, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/328299901_ Facebook_language_predicts_depression_in_medical_records.

Floyd. (2018). Facebook Interactions: An Ethnographic Perspective. Retrieved March 29, 2021

from https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/2056305118784776.

Georgalou. (2017). “This is a wall of memories: Time and Age Identity in Facebook Discourse.” In

S. Leppänen, E.Westinen and S. Kytölä (eds.). Social Media Discourse, (Dis)identifications

and Diversities. New York: Routledge, 235-262.

Harris. (1951). Methods in Structural Linguistics. Chicago: University of Chicago Press.

Hastings. (2019). Benefits of Ethnography of Communication for Mental Health Professionals. Retrieved March 29, 2021 from https://bit.ly/3rtSXjP

Herring. (1996). Computer-mediated Communication. Linguistics, Social and Cross-Cultural Perspectives. Amsterdam, Philadwlphia: John Benjamin.

Herring. (2004). Computer-Mediated Discourse Analysis: An Approach to Researching Online Behavior. Designing for Virtual Communities in the Service of Learning. Retrieved March 20, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/285786435. Horn, L and Ward, G. (2006). The Handbook of Pragmatics. Victoria: Blackwell Publishing.

Hymes, D. (1974). Foundation of Sociolinguistics: An Ethnographic Approach. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.

Lakoff and Johnson. (1980). Metaphors We Live By. Chicago & London: The University of Chicago Press.

Leppänen, S., Westinen, E., and Kytölä, S. (2017). Social Media Discourse, (Dis)identifications and Diversities. New York: Routledge

Noy, C. (2017). “Ethnography of Communication”. in Matthes, J. (ed.). The InternationalEncyclopedia of Communication Research Methods. NY: John Wiley & Sons, Inc, 1-11.

Schiffrin. (1987). Discourse Markers. Cambridge: Cambridge University Press.

Stubbs. (1983). Discourse Analysis: The sociolinguistic analysis of natural language. Chicago: The University of Chicago Press.