การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมทักษะการอ่านเรื่อง “ไก่” สำหรับนักศึกษา ชาวเมียนมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง “หนังสืออ่านเพิ่มเติมทักษะการอ่านเรื่อง “ไก่” สำหรับนักศึกษาชาวเมียนมา” เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ คือ หนังสืออ่านเพิ่มเติมซึ่งผู้วิจัยสร้างเป็น จำนวน10 บท ได้แก่ บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับไก่ บทที่ 2 เพลงและบทอาขยานที่เกี่ยวกับไก่ บทที่ 3 การละเล่นไทยที่เกี่ยวกับไก่ บทที่ 4 ปีนักษัตรกับวัดสำคัญที่เกี่ยวกับไก่ บทที่ 5 อาหารไทยที่เกี่ยวกับไก่ บทที่ 6 สำนวนไทยที่เกี่ยวกับไก่ บทที่ 7 นิทานไทยที่เกี่ยวกับไก่ บทที่ 8 นิทานชาดกที่เกี่ยวกับไก่ บทที่ 9 วรรณคดีไทยที่เกี่ยวกับไก่: ลิลิตพระลอ และบทที่ 10 วรรณคดีไทยที่เกี่ยวกับไก่: รูปแบบคำประพันธ์ลิลิต แต่ละบทมีบทอ่าน คำศัพท์น่ารู้ แบบฝึกหัด อ่านเสริมบทเรียน และแบบทดสอบท้ายบทซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมเมียนมาที่สัมพันธ์กัน โดยมีภาษาเมียนมาช่วยอธิบาย กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยใช้ คือ นักศึกษาชาวเมียนมาระดับปริญญาตรีปีที่ 3 วิชาเอกภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง (YUFL) ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมทักษะการอ่านเรื่อง “ไก่” สำหรับนักศึกษาชาวเมียนมามีค่าประสิทธิภาพ 83.47/80.8 ซึ่ง
สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ E1/E2 = 75/75 แสดงให้เห็นว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมทักษะการอ่านเรื่อง “ไก่” สำหรับนักศึกษาชาวเมียนมามีประสิทธิภาพเหมาะสมกับผู้เรียนชาวเมียนมา และยังช่วยให้นักศึกษาเข้าใจรายวิชาวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม (THAI 3104 : Literature,History and Culture) มากขึ้น นอกจากนี้ ได้ฝึกทักษะการอ่าน ทำให้เกิดสติปัญญาความรู้ ความจำ เกิดความเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้
Article Details
References
สุกัญญา สุจฉายา. (2559). อนุภาคการชนไก่ในนิทานเรื่องพระรถเมรี : ร่องรอยสู่ความเป็น “เมือง” ในสวรรณภูมิ. ใน นางสิบสองพระรถเมรีศึกษาการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง “ขับนิทานนางสิบสอง ขานทำนอง พระรถเมรี”: นิทานมรดกแห่งอนษาคเนย์. (น.9-23). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชามัธยมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์. (2556). สมเด็จพระนเรศวรมหาราช. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
อากิ อคิราภ์. (2555). เราคืออาเซียน เมียนมาร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์คอมมิกส์.
อารยา อนันต์ประกฤติ. (2559). สภาพการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Su Su Khin. (2554). การพัฒนาการเรียนการสอนของภาควิชาภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 การเรียนการสอนภาษาไทยในเอเซีย. (น. 9-16). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.