ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมที่มีต่อค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันและมวลกล้ามเนื้อ ของหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์

Main Article Content

อรนภา ทัศนัยนา
ฤกษ์ชัย แย้มวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสม ที่ผู้วิจัยออกแบบขึ้นที่มีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันและมวลกล้ามเนื้อของหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างได้จากการรับสมัครอาสาสมัครหญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 30 คน ทำการแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  


ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมของกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 โดยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันของกลุ่มทดลองลดลงจาก 35.96 %  เป็น 33.67%  ส่วนกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ .05 โดยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันเพิ่มขึ้นจาก 35.14 %  เป็น 37.02%  ค่าเฉลี่ยมวลกล้ามเนื้อโครงร่างก่อนและหลังการฝึกของกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยค่าเฉลี่ยมวลกล้ามเนื้อโครงร่างของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 23.40 กิโลกรัม เป็น 23.94 กิโลกรัม กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยมวลกล้ามเนื้อโครงร่างก่อนและหลังการฝึกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยมวลกล้ามเนื้อโครงร่างลดลงเล็กน้อย จาก 22.68 กิโลกรัม เป็น 22.38  กิโลกรัม ผลการเปรียบเทียบค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมโปรแกรมพบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< .05 และค่าเฉลี่ยมวลกล้ามเนื้อโครงร่างไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเมื่อนำมาออกกำลังกายมีผลทำให้ค่าเปอร์เซนต์ไขมันลดลงและมีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจึงสามารถนำโปรแกรมดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายเพื่อลดเปอร์เซนต์ไขมันและรักษามวลกล้ามเนื้อของร่างกายในหญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย