การใช้การสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียน The Use of Reflective Thinking to Develop the Science Teachers’ Competency in the Instruction to Promote Students’ Scientific Literacy

Main Article Content

สุระศักดิ์ เมาเทือก
เกียรติสุดา ศรีสุข
น้ำผึ้ง อินทะเนตร
อุไรวรรณ หาญวงค์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้การสะท้อนคิด 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูวิทยาศาสตร์จำนวน 6 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนกับครูวิทยาศาสตร์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 6 ห้องเรียน โดยสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบประเมินสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ในด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 2) แบบวัดการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสถิติที่ ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t – test: dependent)

ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้การสะท้อนคิดสูงขึ้น 2) นักเรียนที่เรียนกับครูวิทยาศาสตร์กลุ่มตัวอย่างมีการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญที่ระดับ .01

 

The purposes of this research are 1) to study the science teachers’ competency in the instruction to promote students’ scientific literacy before and after the use of reflective thinking and 2) to study the result of the instruction to promote students’ scientific literacy. The sample are 6 science teachers which were selected by purposive sampling and 6 classes of students in lower secondary level who studied with the sample teachers selected by cluster random sampling. The instruments are 1) the assessment forms to access the science teachers’ competency in the instruction to promote students’ scientific literacy and 2) scientific literacy measurement tests of the students in lower secondary level. The statistics were Means, Standard Deviation and t-test.

The findings revealed that 1) the science teachers’ competency in the instruction to promote students’ scientific literacy after the use of reflective thinking was higher and 2) the students who studied with the sample teachers had a higher scientific literacy at the .01 level of statistical significance.

Article Details

Section
Research Articles