คุณลักษณะงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความเครียด ในการทำงาน : กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajmt.2024.9คำสำคัญ:
ความเครียดในการทำงาน , คุณลักษณะงาน , สภาพแวดล้อมในการทำงานบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของคุณลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความเครียดในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัดนครราชสีมา และ 2) ศึกษาคุณลักษณะงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 303 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนระดับความคิดเห็นต่อความเครียดในการทำงานอยู่ในระดับน้อย และ 2) คุณลักษณะงาน ด้านความสำคัญของงาน ส่งผลเชิงบวกต่อความเครียดในการทำงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ขณะที่ด้านผลสะท้อนจากงาน ส่งผลเชิงลบต่อความเครียดในการทำงาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน และด้านองค์การและการจัดการ ส่งผลเชิงลบต่อความเครียดในการทำงาน มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ โดยตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถร่วมกันกำหนดทำนายความเครียดในการทำงานได้ ร้อยละ 24.60 (AdjR2 = 0.246) ทั้งนี้ผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานบุคคลและการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อลดความเครียดในการทำงานของพนักงาน
References
Brown, W. & Moberg, D. J. (1980). Organization theory and management. John Wiley & Sons.
Chaijaroentech Company Limited. (2021). Safety standards inside industrial factories in Thailand.https://www.chi.co.th
Cooper & Marshall. (1976). Occupation source of stress. Journal of Occupational Psychology, 49(1), 11-28.
Dechmaneethorn, S. (2019). The job’s burnout state of the generation y bank employee: comparative case between government bank and commercial bank. [Unpublished Master’ s thesis]. Thammasat University.
Department of Employment. (2021). Unemployment and layoff situations. https://www.doe.go.th
Department of Industrial Works. (2021). Industrial factory information. http://reg.diw.go.th
Eastern Economic Corridor the Prime Gateway to Asia. (2015). Smart electronics. https://www.eeco.or.th
Farmer, R. E., Monahan, L. H., & Hekeler, R. W. (1984). Stress management in human services. Sage Publications.
Gilmer, V. B. (1973). Applied Psychology. Mc Graw-Hill.
Hackman, J. R. & Oldham, G. R. (1980). Work Redesign. Addison Wesley.
Han, S. Y., Mun, S. J., Bae, S. S., & Noh, H. (2018). Job stress according to the working environment of clinical dental hygienists. Journal of Korean Society of Dental Hygiene, 18(1), 43-53.
Hattayawat, W. (2019). The relationships between the big five personality working environment and perceived organization support with innovation work behavior of commercial bank [Unpublished Master’ s thesis]. Thammasat University.
James, L. R. & Jones, A. P. (1974). Organizational climate. Psychological Bulletin, 81(12), 1096-1112.
Jaiboon, P. (2021). Influences of job characteristics and work environment on work stress experienced by academic staff at Rajamangala University of Technology Thanyaburi.The Eastern University of Management and Tecchnology Journal, 18(1), 92 – 105.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Margolis, B. L., Kroes, W. H., & Quinn, R. P. (1974). Job Stress a new Hazard to add to the list. Journal of Occupational of Medicine,16(10), 659-661.
Milton, R. (1981). Human Behavior in Organization. Prentice Hall.
Ministry of Labor. (2020). Annual labor statistics 2019. https://www.mol.go.th
Ornnicha Chuenjit. (2017). Antecedents affecting job stress of employees in Navanakorn industrial estate. [Unpublished Master’ s thesis]. Rajamangala University of Thanyaburi.
Plangdee, P. (2018). The influences of social media on work stress of the government officers who work at the customs department of Thailand [Unpublished Master’ s Independent Study]. Thammasat University.
Prapasorn, J. (2021). Stress and factors associated with operational stress of Khaen Dong Hospital personnel, Buriram Province in the Covid-19 pandemic situation. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 15(38), 469-483.
Sitthijirapat, P. & Phonapiruksakul, K. (2023). Factors affecting quality of work life of employees in air conditioner sales and service companies in Bang Kaen District, Bangkok. Academic Journal of Management Technology, 4(2), 198-212.
Srisathitnarakun, B. (2007). Nursing research methods (4th ed). U & I Inter Media Company Limited.
Steers, R. M. (1991). Introduction to organizational behavior (4th ed.). Harper Collin Publishers, Inc.
Tamboon, A. (2019). The transfers and resignations trends in government officials of the Revenue department [Unpublished Master’ s Independent Study]. Thammasat University.
The American Association of Critical-Care Nurses. (2005). AACN Standards for establishing and sustaining healthy
work environment: A journey to excellence. American Journal of Critical Care, 14(3), 187-197.
Yachaima, T. & Phaeanmunin, W. (2018). Factors affecting the stress in operations of traffic police in Bangkok. Rommayasan, 16(2), 539- 560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว