แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajmt.2024.4คำสำคัญ:
ความสุขของผู้สูงอายุ , แรงสนับสนุนทางสังคม , อิทธิพลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป เป็นสมาชิกสมาคมผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 384 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ และ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระดับแรงสนับสนุนทางสังคม คือ ความรู้สึกนึกคิดหรือการรับรู้ของผู้สูงอายุต่อการได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนด้านต่าง ๆ การตอบสนองความต้องการ การได้รับกำลังใจและการส่งเสริมดูแลให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนด้านอารมณ์ หมายถึง การได้รับความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ มีความใกล้ชิดความผูกพัน และมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 2) การสนับสนุนด้านแรงงาน สิ่งของ เงินทอง และบริการ หมายถึง การได้รับการช่วยเหลือด้านแรงงาน สิ่งของ เครื่องใช้ เงินทอง และความสะดวกในการรับบริการต่าง ๆ ในชุมชน และ 3) การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร หมายถึง การได้รับข้อมูลข่าวสาร หรือ คำแนะนำ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ใน การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจากบุคคลในสังคม อยู่ในระดับมาก ด้านความสุขของผู้สูงอายุ พบว่า ในภาพรวมความสุขของผู้สูงอายุ ตามความคิดเห็นของผู้สูงอายุ เขตจังหวัดสมุทรปราการ มีความสุขอยู่ในระดับน้อยกว่าคนทั่วไป
References
Amini, F., Mousavi, S. M., & Yazdani Charati, J. (2023). Compare social support in patients with schizophrenia or methamphetamine dependency with healthy individuals. Mental Health and Social Inclusion.
Clark, S., Kennel, V., McBrien, S., Samson, K., & Zimmerman, H. (2023). Perceived social support: A study of genetic counseling graduate students in the United States (US) and Canada. Journal of Genetic Counseling, 2(4), 846-856.
Department of Older Persons. (2023). Statistics of the elderly. http://www.dop.go.th/th/know/1
Juan, M. (2018). A genetic algorithm for group formation in elderly communities. Journal of AI Communications, 31(2), 409–425.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.educational and psychological Measurement, Journal of Management, 30(3), 607-610.
Mongkol, A., Huttapanom, B., Chetchotisakd, P., Chalookul, W., Punyoyai, L., & Suvanashiep, S. (2009). The study to develop Thai mental health indication. The Psychiatric Association of Thailand, 46(3), 209-225.
Sansang, C. (2018). Quality of life and health promoting behaviors of the elderly in Thung Khao Phuang subdistrict, Chiang Dao district, Chiang Mai province [Unpublished Master’ s thesis]. Chiang Mai Rajabhat University.
Schalock, L. (2004). The concept of quality of life: what we know and do not know. Journal of Intellectual Disability Research, 48(3), 203-216.
Shimoni, S. (2023). Happy and entrepreneurial within the ‘here and now’: The constitution of the neoliberal female ageing subject. Feminist Media Studies, 23(1), 344–359.
Thiratanachaiyakul, K. (2021). The influence of quality of life on happiness of elderly people in Bangkok. J Bus Adm Assoc Priv High Educ Inst Thail, 10(1), 30-48.
Zhang, Z. Q. & Costello, M. J. (2023). A decade of Biotaxa. org: community-supported online library for taxonomic Journals enhanced their publication, access and preservation. Megataxa, 10(2), 43-52.
Zhang, J., & Liu, X. (2021). Media representation of older people’s vulnerability during the COVID-19 pandemic in China. European Journal of Ageing, 18(2), 149–158.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว