ปัจจัยที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ผู้แต่ง

  • อรนิษฐ์ แสงทองสุข สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • รัชตา กาญจนโรนจ์ สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนการสอน , การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน, ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาการบริหารและ      การจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1 รหัส 65 ทุกคน มีจำนวนทั้งสิ้น 120 คนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา MGT ศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารทางธุรกิจเท่านั้น วิธีการที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้สถิติการทดสอบ ค่าที (t - Test) แบบ Dependent และการทดสอบค่าที (t - Test) แบบ Independent ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษามีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อยู่ในระดับมาก สาเหตุเป็นเพราะว่าการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษา เป็นกระบวนการสร้างความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์เดิมของนักศึกษา ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนสามารถกำหนดหลักการที่ได้จากการปฏิบัติและสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีหรือหลักการได้อย่างถูกต้องเป็นการเรียนรู้   ที่ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาด้วย

References

Dongsawat, S. (2013). Study of learning outcomes and learning persistence on the relationship between the Thai economy and the world economy of students at the vocational certificate level A learning center using the KWLH plus technique. Veridian E-Journal, SU, 6(1), 512-525.

Jesadavirot, S. (2023). Integrated learning management.

http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_files/Integrated_Instruction

Jiaokok, J., Haipaporn, S., & Kawsuwan, N. (2020). The results of organizing research-based integrated learning activities on achievement. Through independent study courses and student seminars field of study: social development. Journal of research and development Buriram Rajabhat University, 15(1), 102-116.

Lapho, J. (2020). Teachers' teaching behavior and students' learning. Mahachulalongkorn Journal, 7(5), 34-45.

Learning outcomes according to the National Qualifications Framework. (2017). National educational standards. https://cadt.dpu.ac.th/

Mulni, J. (2022). Efficiency in teaching and learning management of teachers in the 21st century of the chonburi primary educational service Area office, Area 1 [Unpublished Master’ s thesis]. Krirk University.

Nanthasri, S. Jittichaiyo, P., Kananukun, S., & Changkun, W. (2023). Motivation that affects the decision to participate in virtual running run of Khon Kaen runners. Journal of Management Technology, 4(1), 18-28.

Raksuti, S. (2023) .Characteristics of integrated learning management. https://www.kroobannok.com/37351

Soraphom, T. (2022). Integrating online lessons into active learning management for management teacher learning in the crisis situation of coronavirus disease 2019. Journal of Education, 9(2), 24-39.

Tinharwong, S. (2015). Participatory learning: from theory to practice in the subject children's literature. Journal of Human Social Review, 17(1), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26