ปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมภาคการค้าประเภท การขายส่ง - การขายปลีก ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • อมรรักษ์ สวนชูผล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.15

คำสำคัญ:

ความได้เปรียบในการแข่งขัน, ธุรกิจขายส่ง - การขายปลีก, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคการค้าประเภทการขายส่ง - การขายปลีกของประเทศไทย ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคการค้าประเภทการขายส่ง - การขายปลีกที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยเท่านั้น ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 527 คน ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติ  ที่ใช้ในการวิเคราะห์กําหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและเครือข่ายทางธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันการที่ธุรกิจสามารถปรับตัวและนำเทคโนโลยีและเครือข่ายทางธุรกิจมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อเปลี่ยนแปลงในตลาดได้ดีขึ้น ดังนั้น เทคโนโลยีและเครือข่ายทางธุรกิจ จึงมีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการค้าประเภทการขายส่ง - การขายปลีกของประเทศไทย อยู่ในระดับสูง 

References

วารุณี กุลรัตนาวิจิตรา. (2560). ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและ

ขนาดย่อม (ประเภทบริการ). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

นารินี อดุลทิฐิพัชร. (2557). ปัจจัยความสําเร็จและหลักเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของ

ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

รัชตา กาญจนโรจน์, วิชิต อู่ อ้น, และ กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2565) แบบจำลองผลการดำเนินงานทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม)

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). เกี่ยวกับ สสว. สืบค้นจาก http://www sme.go.th/Pages/home.aspx.

อรอุมา สำลี, กนกนาถ ศรีกาญจน, และ เจษฎา ร่มเย็น. (2565). แนวทางการบริหารจัดการทางการเงินและพัฒนารูปแบบการจัดทาบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 3(1), 1-23.

อาชนเทพ อัครสุวรรณ์. (2558). การศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทาง การบัญชีในองค์กรภาครัฐ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

Androniceanu, A. (2023). The new trends of digital transformation and artificial intelligence in public administration. Administratie si Management Public, (40), 147-155.

Boissevain, J., & Mitchell, C, J. (1973). Network analysis: Studies in human interaction. Netherlands: Mouton and Company.

Mutuku, A. K., Kiilu, B. N., Mathuku, P., & Auka, D. O. (2022). Effect of Entrepreneurial Skills on Organizational

Performance of Small and Medium Enterprises in Nakuru City-Kenya. International Journal of Economics & Business Administration (IJEBA), 10(3), 156-173.

Porter, Michael E., (1980). Competitive Advantage : Creating and Sustaining Superior Performance. New York: Free Press.

Reetesh K. & Singh Simple Sethi. (2017). The Balanced Scorecard: Churning the Existing Literature. The Journal for Decision Makers, 30(1), 51-66.

TDRI. (1989). The Development of Thailand’s Technological Capability in Industry. Bangkok Thailand : Volume1 Overview and Recommendations.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

ธีระธนชัยกุล ก., & สวนชูผล อ. . (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมภาคการค้าประเภท การขายส่ง - การขายปลีก ของประเทศไทย. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 4(2), 213–223. https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.15