การวิเคราะห์ศักยภาพอาหารพื้นถิ่นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดสุรินทร์ กรณีศึกษา ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajmt.2024.12คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, ศักยภาพอาหารพื้นถิ่น, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดสุรินทร์ และวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดสุรินทร์ เป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอาหารใน จังหวัดสุรินทร์ กรณีศึกษา ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสำรวจภาคสนาม การสังเกต และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แบ่งผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านอาหารในพื้นที่ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นอาหารพื้นถิ่นที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ได้แก่ แกงคั่วหอยขม แกงขี้เหล็ก กบทอด ปลาทอด แมลงทอด ป่น แจ่ว ข้าวต้มมัด ผัก และผลไม้ 2) ผลการวิเคราะห์ SWOT จุดแข็ง คือ มีสถานที่ท่องเที่ยว ที่โดดเด่นภายในตำบล ได้แก่ ศูนย์คชศึกษา สุสานช้าง วังทะลุ มีกิจกรรมการแต่งกายและอาหารท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ มีการถ่ายทอดภูมิปัญญา และประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น จุดอ่อน คือ ขาดการบริหารจัดการการท่องเที่ยว แบบเชื่อมโยง ผลผลิตทางการเกษตรไม่สามารถสร้างรายได้ ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวไม่สามารถสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ประกอบด้วย ชุดอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับรสชาติของอาหารตามวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ซึ่งสามารถสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยว และส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น และยังเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านอาหารท้องถิ่นไปสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ป้องกันไม่ให้ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นบางชนิดสูญหายไปในอนาคตอีกทั้งยังสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม
References
Cohen, E & Avieli, N. (2004). Food in tourism: Attraction and impediment. Annals of Tourism Research, 31(4), 755-778.
Hall, M.C. & Mitchell, R. (2005). Gastronomic tourism: comparing food and wine tourism experience. Routledge.
Humphrey, S.A. (2005). SWOT Analysis for Management Consulting. https://www.studylib.net/doc/8679881/swot-analysis-for management-consulting
Kivela, J. & Crotts, J. (2005). Gastronomy tourism: A meaningful travel market segment. Journal of Culinary Science & Thnology, 4(2), 39-55.
Ministry of Public Health. (2008). Foods for Health. Ministry of Public Health..
Natpinit, H. (2005). Thai food culture similarity different. http://www.palungjit.com/f76/ Thai food culture - similarities and differences -23077/Northeastern and Indo-Chinese Regional Studies Club. (2012). Isaan arts and culture traditions. Naresuan University.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). National research strategy for 20 years. http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=642
Prachachat. (2019). Gastronomy Tourism distributes income to the “grassroots”. https://www.prachachat.net/ tourism/news-317059
Promthep, J. & Chuaysuk, D. (2022). Potential of community food tourism at At Samat Province, Nakhon Phanom Province. Research and Development Journal Loei Rajabhat University, 17(59), 32-40.
Ramrong, T., Wongkitrungrueang, C., Pattananurak, P. & Palakat, S. (2021). The potential of local food in promoting tourism through local food. Case study of Trang Province city of foodies. Journal of Social Sciences and Humanities, 47(2), 50-74.
Royal Academy. (2003). Royal Institute Dictionary AD1999. Nammi Books Publishing.
Surin Provincial Office. (2017). Surin province information. Surin Provincial Office.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว