การใช้แนวคิดการบูรณาการเนื้อหาและภาษาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajmt.2024.2คำสำคัญ:
การบูรณาการเนื้อหาและภาษาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน , ผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยการบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน จากโรงเรียนประชาสามัคคี ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาบัวบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอนแบบการบูรณาการเนื้อหาและภาษา โดยใช้โครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษแบบการบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทีแบบไม่อิสระ (t - Test for Dependent) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ การอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังจากเรียนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้เรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน แสดงให้เห็นว่าการเรียนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สามารถส่งเสริมผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนได้
References
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom's taxonomy of educational objectives: Complete edition. Addison Wesley Longman.
Chen, Y. (2012). Symposium: The contextualization of teaching and learning English as an international language. Language Teaching, 45(4), 527-530. https://doi.org/10.1017/S0261444812000183
Coyle, D. (2007). Content and Language Integrated Learning: Towards a connected research agenda for CLIL pedagogies. International Journal of Bilingual Education and Bilingualism, 10(5), 543-562.
Coyle, D., Hood, P., & Marsh, D. (2010). CLIL: Content and language integrated learning. Cambridge University Press.
Coyle, D. (2011). Teacher education and CLIL methods and tools. http://www. cremit. it/public/documenti/seminar. pdf.
Dalton-Puffer, C. 2007. Discourse in Content and Language Integrated Learning (CLIL) Classrooms. John Benjamins.
Domalewska, D. (2015). Classroom discourse analysis in EFL elementary lessons. International Journal of Languages, Literature and Linguistics, 1(1), 6-9.
Eurydice. (2006). Content and Language Integrated Learning (CLIL) at school in Europe. Eurydice Unit.
Graddol, D. (2006). English next. http://www.britishcouncil.org/learning-research-english-next.pdf
Huang, Y. C. (2020). The effects of elementary students' science learning in CLIL. English Language Teaching, 13(2), 1-15.
Kim, M. K. (2019). Project-based learning experience in the construction of intercultural knowledge. Modern English Education, 20(2), 1-18.
Lai, H. T. (2014). Learning English as an international language: EFL learners’ perceptions of cultural knowledge acquisition in the English classroom. Asian Social Science, 10(1), 1-11.
Marsh, D. (2002). CLIL/EMILE-The European dimension: Actions, trends, and foresight potential. DG EAC: European Commission. http://www.phkarlsruhe.de/cms/flieadmin/user_upload/dozenten/ schlemminger/enseignement_bilingue/Marsh-CLIL-EMILE.pdf
Mergendoller, J. R., Maxwell, N. L., & Bellisimo, Y. (2006). The effectiveness of problem-based instruction: a comparative study of instructional methods and student characteristics. Interdisciplinary journal of problem-based learning, 1(2), 49-69.
Pang, E. S., Muaka, A., Bernhardt, E. B., & Kamil, M. L. (2003). Teaching reading (Vol. 6). International Academy of Education.
Pinto Ruiz, A. M. (2018). CLIL and reading strategies worksheets to foster reading comprehension [Doctoral dissertation]. Universidad Externado de Colombia.
Soparat, S., Arnold, S. R., & Klaysom, S. (2015). The development of Thai learners' key competencies by project-based learning using ICT. Online Submission, 1(1), 11-22.
Suwannoppharat, K. (2014). The development of a content and language integrated learning course to enhance cultural awareness and English communication ability of Thai undergraduates in the international program [Doctoral dissertation]. Chulalongkorn University.
UNESCO. (2012). Education in humanitarian emergencies and conflictsituations’.https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000220416fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR2Qf90AuxiLHlBkvfK9CflKXVNPGM9MarHr1Qa9MBSeSIkj3qOxFvOd6B4_aem_AfOdemZ2qBrrAnvbwWxwasYqldhsz4WNqGfgnsL1s55eUXazPptDMuiVeHKXcYG2p1yPhUXDJiuKTOu46h5IanYf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว