การรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนในจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • จิรภัทร เริ่มศรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.13

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อ , จังหวัดสกลนคร , เยาวชน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และความเป็นพลเมืองดิจิทัลของเยาวชนในจังหวัดสกลนคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) มีการสุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกตัวแทนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 129 คน มีการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 19 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเข้าถึงสื่อได้หลากหลาย โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบเนื้อหา ใช้เหตุและผลเป็นพื้นฐานของการตีความหมาย เข้าใจกระบวนการผลิต สามารถอธิบายสิ่งที่ปรากฏบนสื่อได้ว่า เป็นการประกอบสร้างเพื่อให้เป็นสารที่สมบูรณ์ การนำข้อมูลไปแชร์ต้องมีการวิเคราะห์ หรือตรวจเช็คข้อมูลให้ดีก่อนที่จะแชร์ข้อมูลนั้น ต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อหรือกลุ่มคนที่ไม่หวังดี โดยผู้ให้ข้อมูลหลักมีการใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางในการสื่อสาร เพราะมองว่าสนับสนุนให้กล้าแสดงความคิดเห็น อีกทั้งสามารถตอบสนองความต้องการในรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างสามารถแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะได้ แต่การได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารอาจนำไปสู่การคุกคามต่อสิทธิส่วนบุคคล รวมทั้งการสื่อสารอื่นที่เป็นความผิดตามกฎหมายหรือการฉ้อโกงออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมทางสื่อใหม่ ส่งผลต่อให้เกิดภาษาที่วิบัติหรือการใช้คำพูดที่หยาบคายขาดวุฒิภาวะในการแสดงความคิดเห็น ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในเรื่องที่ผลิต ควรใช้มาตรฐานจริยธรรมของสื่อดั้งเดิมมาใช้กับแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วย

References

กาญจนา เดชสม และ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2564). การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(1), 151-163.

ณัฐณิชา ดวงขจี, สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, และ นิยม กำลังดี. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 9(1), 19 - 21.

ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด. (2569). ค่านิยมของประชาชนต่อการเมืองการปกครองและวัฒนธรรมทางสังคมไทย ปี 2557. สถาบันพระปกเกล้า.

ธนภัทรโสภา และ พิมพ์นภา ปัญญามี. (2564). ความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยกับการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์และดิจิทัล. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 2(1), 24 - 35.

นภัทร น้อยนารถ, ธนเทพ ปัญญาลานันท์, ปัญณิษา เสมอใจ, ปาณพงษ์ ภูศรี, เมธาวี สุดาจันทร์, ปฏิพล สุวบุตร, รัตนภรณ์ กุลภา, และ นางสาววรัญญา ปาคำ. (2565). ทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทร์ศินี แสนสำแดง. (2557). ทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ของวัยรุ่น ในจังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(12), 47 - 58.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

วราพร ดำจับ. (2562). สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(2), 143 - 59.

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2560). กรอบแนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.healthymediahub.com/media/detail/

สมชาย แสวงการ. (2558). สร้างความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์. (2560). Fake News ข่าวปลอม ปัญหาใหญ่ของโลกอินเทอร์เน็ต. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://www.okmd.tv/ blogs/ all-things-digital/fake-news

Dhamanitayakul, C. & Biggins, O. (2019). Conceptualizing Digital Citizenship for Digital Natives in Thailand. Journal of Communication Arts Review, 23(3), 60 - 73.

Mossberger, K., Tolbert, C., and McNeal. (2007). Digital Citizenship: The Internet, Society, and Participation. The MIT Press. https://doi.org/10.7551/mitpress/7428.001.0001.

Potter, W. J. (2005). Media literacy (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

UNESCO. (2013). Global Media and Information Literacy Assessment Framework: country readiness and

competencies. Paris: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

เริ่มศรี จ. . (2023). การรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนในจังหวัดสกลนคร . วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 4(2), 188–197. https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.13