การศึกษาความต้องการการรับบริการวิชาการด้านการประกอบอาหารและ การรับรู้ทักษะการประกอบอาหารของนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.10คำสำคัญ:
การรับรู้ทักษะด้านอาหาร, ความต้องการการรับบริการวิชาการด้านการประกอบอาหาร , นักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการประกอบอาหารและความต้องการการรับการบริการวิชาการด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน เก็บข้อมูลจากนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 43 คน และผู้บริหารและครูผู้สอนนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 3 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการการรับการบริการวิชาการด้านอาหารและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบอาหารรับประทานเอง ได้แก่ ความสะอาด การได้ฝึกทำอาหาร และประหยัดค่าใช้จ่าย ตามลำดับ ด้านทักษะการประกอบอาหารที่ต้องการที่จะเรียนรู้ พบว่า นักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน มีความต้องการเรียนรู้ทักษะอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทักษะที่มีความต้องการได้สูงที่สุด ได้แก่ ด้านอาหารคาว ด้านเครื่องดื่ม และ ด้านการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการประกอบอาหารตามลำดับ และ 2) ทักษะการประกอบอาหารที่นักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินมีการรับรู้น้อยที่สุดเพื่อใช้ในการวางแผนจัดบริการให้กับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ 1) ด้านการเตรียมอาหาร ( = 3.66) 2) ด้านความปลอดภัยและการจัดเก็บอาหาร ( = 3.78) และ 3) ด้านการเลือกและ การวางแผนด้านอาหาร ( = 3.82)
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2557). หลักสูตรการส่งเสริมศักยภาพผู้ดูแลคนพิการทางการได้ยินเฉพาะคนหูหนวกและคนหูตึง. [เอกสารออนไลน์]. สืบค้นจาก https://dep.go.th/uploads/Docutents/2efffaa9-a9c8-4fd4-aa26-7c4ec5a591c64.pdf
จรรยา วังนิยม, นรภัทร สถานสถิต, และ สุพาพร ลอยวัฒนากุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) ของประชากรในเขตเทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 59 - 68.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561, 17 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ หน้า 20
พัชรินทร์ ไตรทิพยพงศ์. (2553). พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานเดียวของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ภัทรานิษฐ สงประชา, ภัทรพล มหาขันธ์, และ ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล. (2563). สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษา. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 16(1), 46-58.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2550). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.). (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ.
สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพเด็กพิการสำหรับผู้ปกครองที่มารับบริการภายใน ศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักโภชนาการ. (2558). คู่มือการจัดการอาหารกลางวันนักเรียนตามมาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สุมิตา สุขหอม และ ชญาภัทร์ กี่อาริโย. (2566). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดอาหารกลางวัน ของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 35(125), 133 - 144.
Bailey, C. J., Drummond, M. J., & Ward, P. R. (2019). Food literacy programmes in secondary schools: A systematic literature review and narrative synthesis of quantitative and qualitative evidence. Public Health Nutrition, 22(15), 2891-2913.
Bernardo, G. L., Jomori, M. M., Fernandes, A. C., Colussi, C. F., Condrasky, M. D., & da Costa Proenca, R. P. (2018). Positive impact of a cooking skills intervention among Brazilian university students: Six months follow-up of a randomized controlled trial. Appetite, 130, 247-255.
Chief Curriculum Development Officer (PSHE). 2013. Tourism and hospitality studies. Wan Chai: Education Bureau.
Farmer, N., & Cotter, E. W. (2021). Well-being and cooking behavior: using the positive emotion, engagement, relationships, meaning, and accomplishment (PERMA) model as a theoretical framework. Frontiers in psychology, 12, 1-12. doi:10.3389/fpsyg.2021.560578
Kennedy, L. G., Kichler, E. J., Seabrook, J. A., Matthews, J. I., & Dworatzek, P. D. (2019). Validity and reliability of a food skills questionnaire. Journal of nutrition education and behavior, 51(7), 857-864.
Mahmoud, S., Seabrook, J. A., Dworatzek, P. D., & Matthews, J. I. (2020). Using the Food Skills Questionnaire (FSQ) to Evaluate a Cooking Intervention for University Students: A Pilot Study. Canadian Journal of Dietetic Practice and Research, 82(1), 41-44.
Utter, J., Larson, N., Laska, M. N., Winkler, M., & Neumark-Sztainer, D. (2018). Self-perceived cooking skills in emerging adulthood predict better dietary behaviors and intake 10 years later: a longitudinal study. Journal of nutrition education and behavior, 50(5), 494-500.
World Economic Forum (WEF). (2020). The future of jobs report 2020. [Report]. Retrieved from https://www.weforum.org/reports/the-future-of-jobs-report-2020
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว