ปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้าง ด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป

ผู้แต่ง

  • พงศ์ฐนิต หงส์ธีระกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อนันต์ ธรรมชาลัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

DOI:

https://doi.org/10.14456/ajmt.2024.1

คำสำคัญ:

การจัดการ , ความได้เปรียบในการแข่งขัน , คอนกรีตสำเร็จรูป , ธุรกิจก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป จำแนกตามคุณลักษณะของธุรกิจ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดการและ ปัจจัยด้านการก่อสร้างที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป โดยปัจจัยความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจประกอบด้วยด้านต้นทุนต่ำ ด้านความแตกต่าง ด้านการมุ่งตลาดเฉพาะส่วน และด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจก่อสร้างขนาดกลางจำนวน 210 ราย และขนาดใหญ่ จำนวน 41 ราย รวมทั้งสิ้น 251 ราย จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความได้เปรียบ ในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปด้านความแตกต่างมีความแตกต่างกันตามทุน จดทะเบียน ในขณะที่ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจด้านต้นทุน ด้านการมุ่งตลาดเฉพาะส่วน และภาพรวมความได้เปรียบในการแข่งขันมีความแตกต่างกันตามจำนวนพนักงาน ในด้านของการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน และการควบคุมส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และยังพบว่า ปัจจัยการก่อสร้าง ได้แก่ ปัจจัยด้านเครื่องจักร วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง และกระบวนการก่อสร้างส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

Barashkova E. (2018). Analysis of construction company’s competitiveness factors and development of Its competitive strategy. [Unpublished Doctoral dissertation]. Meng, Czech Technical University in Prague

Janteang, L. & Chutarat, N. (2022). Strength of precast concrete bearing walls with large opening. Sripatum Review of Science and Technology, 14, 186.

Kasikorn Research Center. (2018). Direction of Thailand construction business 2019. https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/ThaiConstruction-Direction_2019.pdf.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Lerdwiwatchaiyaporn, S. & Suriya, M. (2022). Relationship of demographic Factors with 5M model in Tum Bon Wangyang sub-district Sriprachan Suphanburi province. Journal of MCU Ubon Review. 7(2), 625.

Luo, C. (2022). Application of agile development and innovation technology in the structural engineering. [Unpublished Doctoral dissertation]. Massachusetts Institute of Technology.

Mahanani, C., Wening, S., Susanto, M. R., & Sudirman, A. (2020, January). The effect of laboratory knowledge, teaching practice experience, and work motivation on laboratory management. Journal of Physics: Conference Series, 1446(1), 1-7. https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742-6596/1446/1/012042/pdf

Naokaew, T. (2022). Developmeat and evaluation of model to prevent dengue hemorrhagic fever of family health leader by application of POCCC management Theories. Journal of Environmental and Community Health. 7(2), 152. Revenue Department. (2020). About the busiess SMEs. http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/SMEs/infographic/3601.pdf.

Robbertse, C. (2020). The effects of the project managers’ skills on construction productivity. [Unpublished Doctoral dissertation). The university of Free State in South Africa.

Sengchaleun, P. & Chulasai, B. (2020). Condominium design for precast concrete construction.Sarasatr academic journal, (2), 465.

Thadawirakit, N. & Chantanee, M. (2020). Marketing Strategies Affecting The Competitive Advantage Of perfume entrepreneurs in the central region. Journal of Educational Review. 7(3), 302.

Thongtaradol, N. & Teartisup, S. (2020). Layout of precast concrete component production plants in Bangkok metropolitan region. Sarasatr Academic Journal, (3), 491.

Tomek R. (2017). Advantages of precast concrete in highway infrastructure construction. Prodedia Engineering, 176-180.

Tunji-Olayeni, P. F., Mosaku, T. O., Fagbenle, O. I., & Omuh, I. O. (2017). Competitive strategies of indigenous construction Firms. International Journal of Civil Engineering and Technology, 8(20), 350-362.

Vuttanasut, M. & Niruttikul, N. (2020). Comparison of factors affecting buying decision behavior of Residential by conventional construction and construction with precast concrete. MBA-KKU Journal, 13(1), 63.

Yooprasertchai, E., Wiwatrojanagul, P., Suwansaya, P., & Pimanmas, A. (2018). Seismic behavior of precast concrete load bearing walls with welded rebar connections. SWU Engineering Journal, 13(1), 40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26

How to Cite

หงส์ธีระกุล พ. ., วีระญาณนนท์ เ. ., & ธรรมชาลัย อ. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้าง ด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 5(1), 1–15. https://doi.org/10.14456/ajmt.2024.1