ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำผักและน้ำผลไม้คั้นสดแบบขวดของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.9คำสำคัญ:
การตัดสินใจซื้อ , ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด , ผลิตภัณฑ์น้ำผักและน้ำผลไม้คั้นสดแบบขวดบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ส่วนประสมทางการตลาด พฤติกรรมการบริโภค และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำผักและน้ำผลไม้คั้นสดแบบขวดของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ส่วนประสมทางการตลาด พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำผักและน้ำผลไม้คั้นสดแบบขวด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยประชากรในการวิจัยคือผู้บริโภคน้ำผักและน้ำผลไม้คั้นสดแบบขวดที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีสถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท 2) อายุ อาชีพ ความถี่ในการซื้อ ปริมาณในการซื้อในแต่ละครั้ง สาเหตุของการเลือกซื้อ ช่วงเวลาที่นิยมดื่มน้ำผักและน้ำผลไม้คั้นสดแบบขวด ที่แตกต่างกันของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำผักและน้ำผลไม้คั้นสดแบบขวดแตกต่างกัน มีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำผักและน้ำผลไม้คั้นสดแบบขวด มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรชนก ภู่โชติชัชวาล. (2563). แผนธุรกิจน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
จุรีพร ช้อนใจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่มตรากรีนเมทของผู้บริโภคในจังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ชนินทร โฉมศรี. (2562). กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำผลไม้คั้นสดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.
การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ดวงพร วิมลจิตต์. (2561). พฤติกรรมการบริโภคน้ำผักและน้ำผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
ธนพรพรรณ พลคีรีย์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผัก-ผลไม้ คั้นสด 100% ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
นันทพร ดำรงพงศ์, รุ่งโรจน์ สงสระบุญ, วิบูลย์ ชินบูรพา, และ มนทิรา ตันตระวาณิชย์. (2563). การตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่มตรามาลีของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 147-156.
พรทิพย์ เพ็งหนู, ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ, และ โอปอล์ สุวรรณเมฆ. (2563). สิ่งกระตุ้นทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ดอยคำ ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(1), 78-96.
ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัคณัฏฐ์ พูลสุวรรณสิน. (2562). พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผักและผลไม้สำเร็จรูปตราทิปโก้ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ภัททิยา ล่องสาคร, วิชากร เฮงษฎีกุล, และ พุฒิธร จิรายุส. (2564). ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 87-95.
ภิญรดา แก้วเขียว และ วุฒิ สุขเจริญ. (2563). การพัฒนาเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้สำหรับตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
มานิสา คำวิไล และ ฉันทนา ปาปัดถา. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผักและผลไม้ออร์แกนิคของผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร, 1(1), 126-145.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, และ จีระวัฒน์ อนุวิชชานนท์. (2563). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Diamond in Business World.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2565). ตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลในประเทศไทย ปี 2564. สืบค้นจาก https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=359
สายงานวิจัยธุรกิจ กลุ่มกลยุทธ์และนวัตกรรม LH BANK. (2566). ธุรกิจเครื่องดื่ม (น้ำผลไม้). [บทวิเคราะห์]. สืบค้นจาก ภาพรวมเศรษฐกิจไทยและแนวโน้มปี 2550 (lhbank.co.th)
สรียา ศศะรมย์, ภัทรฤทัย เกณิกาสมานวรคุณ, และ ยุทธพงษ์ อรัญกานนท์. (2562). พฤติกรรมการซื้อน้ำผลไม้ พร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(2), 103-113.
สุดารัตน์ เชื้อเมืองแสน, จีราพรรณ อินทรี, อาทิตยาพร ประสานพานิช, และ กันตภพ บัวทอง. (2565). การพัฒนา กลยุทธ์ทางการตลาดการท่องเที่ยวแบบคาเฟ่ฮอปปิ้ง (Café’ Hopping) บริเวณถนนเลียบริมแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 3(1), 40-56.
อรุณโรจน์ เอกพณิชย์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อน้ำผักและผลไม้อินทรีย์แบบสกัดเย็นของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฉ)
Marketeer Online. (2565). ตลาดน้ำผลไม้ไอเทมสุดฮิตติดกระเช้าทุกปีใหม่มีมูลค่าเท่าไร. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/292782
Positioning. (2564). “น้ำผลไม้” เปลี่ยนทิศ! หมดยุคเล่นด้วยรสชาติ แต่เป็นเกมของ “นวัตกรรม-ฟังก์ชันนอล”. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/1347844
Research and Markets. (2566). ตลาดน้ำผลไม้แนวโน้มอุตสาหกรรมทั่วโลก ส่วนแบ่ง ขนาดการเติบโตโอกาส และการคาดการณ์ปี 2566-2567. [เว็บไซต์]. สืบค้นจากhttps://www.researchandmarkets.com/reports/5732908/fruit-juice-market-global
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management (15th ed.). Essex: Pearson Education Limited.
Kotler, P., Armstrong, G., & Balasubramanian, S. (2021). Principles of Marketing. (18th ed.) New Jersey: Pearson Education, Inc.
Mothersbaugh, D. L., Hawkins, D. I., & Kleiser, S. B. (2020). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy (14th ed.). New York: McGraw-Hill Education.
Schiffman, L. G., & Wisenblit, J. (2019). Consumer Behavior (12th ed.). United Kingdom: Pearson Education Limited.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว