การออกแบบฟื้นฟูย่าน และพัฒนาพื้นที่ชุมชนมุสลิมบ้านบน ด้วยกระบวนการศึกษาดูงาน

ผู้แต่ง

  • ญาโณ ลีรัตนขจร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ กรุงเทพมหานคร
  • ชูวิทย์ สุจฉายา ร.น. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ กรุงเทพมหานคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.12

คำสำคัญ:

การศึกษาดูงาน, ชุมชนมุสลิม, อนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชน

บทคัดย่อ

จากนโยบายทางภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีมติยกให้เมืองสงขลาเป็นเมืองมรดกของชาติ โดยทางเทศบาลเมืองสงขลามีนโยบายในการอนุรักษ์ทและฟื้นฟูเมืองเก่าสงขลาอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่เกิดขึ้นยังไม่ครอบคลุมถึงชุมชนมุสลิมบ้านบน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในขอบเขตกำแพงเมืองเก่าสงขลามาตั้งแต่ก่อตั้งเมือง จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม และวางแผนการบริหารจัดการชุมชนให้ได้รับการอนุรักษ์-พัฒนาที่เหมาะสม กาiศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการศึกษาดูงานเป็นเครื่องมือในแก้ไขปัญหาภายในชุมชน และจัดกระบวนการดำเนินกิจกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันนำไปสู่การอนุรักษ์และพัฒนาที่สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองเก่าสงขลา โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของของคนในชุมชนอยู่ในระดับที่ต่ำ และแนวคิดที่มีต่อการพัฒนายังมีมุมมองที่ไม่เปิดกว้าง จึงวางแผนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา จนเกิดรูปแบบของกระบวนการศึกษาดูงานเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งผลจากงานวิจัยนี้พบว่า กระบวนการศึกษาดูงานนั้นสามารถยกระดับการมีส่วนร่วม สร้างความเสมอภาค และสะท้อนผลจากกระบวนการศึกษาดูงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาสรุปเพื่อจัดทำแนวทางการอนุรักษ์-พัฒนา และแนวทางการบริหารจัดการชุมชนมุสลิมบ้านบนสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ และเป็นแนวทางสำหรับการจัดกระบวนการศึกษาดูงานในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน

References

กลุ่มงานจัดการสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม. (2562). การดำเนินงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

เบญจวรรณ ปานแม้น และ กมลวรรณ แสงธรรมทวี. (2565). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม ย่านตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(2), 350.

พนัส ปรีวาสนา. (2564).เครื่องมือเปิดหูเปิดตา (ศึกษาดูงาน). [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/691200

พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

มกราพันธุ์ จูฑะรสก, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ศุกร์ใจ เจริญสุข, เบญจพร ทิพยผลาผลกุล, และ อณิษฐา จูฑะรสก. (2564). นวัตกรรมหลักสูตร : กระบวนการคิดอย่าง เป็นระบบเชิงสร้างสรรค์และจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรมสู่การสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพและสาธารณสุข สถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณะสุข, 30(1),148.

Kevin Lynch. (1960). The image of the city. USA: the Massachusetts Institute of Technology and the President and Fellows of Harvard College.

Henry Sanoff. (2000). Community participation methods in design and planning. USA: John Wiley & Sons, Inc.

The Urbanis. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างเรา : คนกับพื้นที่เมือง และการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ อย่างมีชีวิตชีวา. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://theurbanis.com/publicrealm/01/09/2020/2717

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

ลีรัตนขจร ญ., & สุจฉายา ร.น. ช. . (2023). การออกแบบฟื้นฟูย่าน และพัฒนาพื้นที่ชุมชนมุสลิมบ้านบน ด้วยกระบวนการศึกษาดูงาน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 4(2), 169–187. https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.12