กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของกลุ่ม Gen Z ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นภาพร วงษ์วิชิต คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • มุกดา นาดี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • กวิน ปานทอง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • รวิฐา ทวีพร้อม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ฉันชนา สังสัญชาติ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ประภาภรณ์ ขุมทอง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • นิรมาลย์ งามเหมาะ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • แก้วตา บุญร่วม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • พงศ์ภัทร เกียรติประเสริฐ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.3

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การตลาด, กลุ่ม Gen Z , การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของกลุ่ม Gen Z ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่ม Gen Z จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและด้านการจัดจำหน่าย ตามลำดับ ส่วนการตัดสินใจในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของกลุ่ม Gen Z ในประเทศไทย โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือมีความชื่นชอบในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รองลงมามีการเปรียบเทียบข้อมูลแล้วมีการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่พึงพอใจ และเลือกท่องเที่ยวเพราะเห็นข้อมูลจากสื่อออนไลน์ และมีการเปรียบเทียบแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ก่อนการตัดสินใจเสมอ ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลยุทธ์การตลาดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งกลยุทธ์การตลาดด้านกระบวนการและด้านผลิตภัณฑ์มีผลต่อการตัดสินใจในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนกลยุทธ์การตลาดด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและด้านราคามีผลต่อการตัดสินใจใน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กาญจนาพร ไตรภพ. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 6(1), 16.

จีณัสมา ศรีหิรัญ, กมนภา หวังเขื่อนกลาง, รวิภา ในเถา, และ สมศักดิ์ ตลาดทรัพย์. (2563). การจูงใจนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซดด้วยองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว เพื่อเข้าร่วมประเพณีฮีตสิบสองในจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(1), 39-43.

ชนพัฒน์ ช่วยครุฑ, อมรฤทัย ภูสนาม, และ อรอนงค์ เดชมณี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังยุคโควิด19. วารสารวิชาการและวิจัย, 10(3), 195-197.

ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว. (2563). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 272-273.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ. บทวิเคราะห์สถานการณ์ MSME สาขาธุรกิจท่องเที่ยว ปี 2564 และแนวโน้มปี 2565. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20211012232619.pdf/

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สุพีร์ ลิ่มไทย, ศุภกร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช, และ ปริญ ลักษิตานนท์. (2541). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บรรณกิจ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

สถานบันวิจัยวิทยาศาสตร์. (2540). การดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : รายงานผลการดำเนินการ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ถิรนันท์ ประทุม. (2564). แนวทางการเพิ่มสมรรถนะผู้ประกอบการธุรกิจโต๊ะจีนในจังหวัดนครปฐมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 2(2), 100-115.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc.

Commonwealth Department of Tourism. (1994). National Ecotourism Strategy. Commonwealth of Australia.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and A, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New York: Pearson.

Marketing Oops. (2556). เจเนอเรชั่น และความต่าง “Gen-X Gen-Y Gen-C”. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/gen-x-gen-y-gen-c/

WorkpointTODAY. (2564). เจาะพฤติกรรมคน Gen Z ที่มักถูกเข้าใจผิด พร้อมกลยุทธ์มัดใจ พิชิตยอดขายให้แบรนด์.[เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://www. https://workpointtoday.com/gen-z-behavior/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-20

How to Cite

วงษ์วิชิต น., นาดี ม., ปานทอง ก., ทวีพร้อม ร., สังสัญชาติ ฉ., ขุมทอง ป., งามเหมาะ น. ., บุญร่วม แ. ., & เกียรติประเสริฐ พ. . (2023). กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของกลุ่ม Gen Z ในประเทศไทย. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 4(1), 29–40. https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.3