แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารทางทะเลแปรรูป บนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ ชัยวรรณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • เจนจิรา บ.ป.สูงเนิน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • อัครณิต บรรเทา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.4

คำสำคัญ:

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ , ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล , วิธีของชุมชน , อัตลักษณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารทางทะเลแปรรูปบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากการประยุกต์อัตลักษณ์ท้องถิ่นสร้างเป็นเรขศิลป์ ที่มีรูปแบบการผลิตสวยงามตอบสนองต่อการใช้สอยเชิงพาณิชย์ และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อบรรจุภัณฑ์กลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล ตำบลบ้านแหลม ตำบลแหลมผักเบี้ย และตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยทำการศึกษาสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวเพื่อหาแนวทางออกแบบบรรจุภัณฑ์บนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ด้านกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ และโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวและผู้บริโภคทั่วไปที่เลือกซื้ออาหารทางทะเลแปรรูปบริเวณร้านขายของฝาก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สถิติที่ใช้ใน  การวิจัย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ โดยผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารทางทะเลแปรรูปทั้ง 3 ตำบล ในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีนั้น ผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจในบรรจุภัณฑ์ อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ตราสัญลักษ์ของสินค้าที่มีต่อกระแสการรับรู้ ความทรงจำร่วมของผู้ซื้อสินค้า วัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่ไม่เหมาะสมในการขนส่งและไม่หนุนเสริมการเป็นของฝาก สลากสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ใช้วัสดุกระป๋องพลาสติกใสและถุงพลาสติกใส สติกเกอร์ PVC สร้างตราสัญลักษ์ของสินค้า สลากสินค้าลวดลายเรขศิลป์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการสำรวจความพึงพอใจ/ความเหมาะสม ด้านกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ และโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับมาก

References

จิตราพร ลีละวัฒน์. (2548). บรรจุภัณฑ์ศาสตร์และศิลป์ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอาหารให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จักเรศ เมตตะธำรง, กนกอร นักบุญ, กรรณิการ์ สมบุญ, ศิริพร สารคล่อง,เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา, ชเวง สารคล่อง, และ จุฬาสินี แมนสถิต. (2564). ความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของรสชาติและการบรรจุภัณฑ์การแปรรูปเครื่องในโค. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 2(1), 43-53.

ณฐพงศ์ จิตรรัตน์. (2548). อัตลักษณ์ชุมชนภาคใต้ : บทสำรวจเบื้องต้นจากเอกสาร. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิริยา วิฑูรย์สฤษฏ์ศิลป์. (2548). การศึกษาอัตลักษณ์คนชั้นกลางไทยผ่านการเล่าเรื่องในสื่อหนังสือบันทึกการเดินทาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วัฒน์ พลอยศร. (2562) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้ง กลุ่มแม่บ้านตำบลท่าไร่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 245-254.

ประชิด ทิณบุตร. (2531). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ภูษิต คำชมภู, ยุวดี ทองอ่อน, เพียงพิศ ชะโกทอง, จิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์, และ เพ็ญนภา มณีอุด. (2550). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชุดสบู่สมุนไพรในแนวทางการส่งเสริมการจำหน่าย กลุ่มตลาดน้ำบางประมุง หมู่ที่ 5 ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ (รายงานการวิจัย). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.

ศรัฐ สิมศิริ, มานะ เอี่ยมบัว, ชนินทร์ กุลเศรษฐัญชลี, สธนวัชร์ ประกอบผล, วรรณิกา เกิดบาง, นรินทร สรวิทย์ศิรกุล, และ รตนนภดล สมิตินันทน์. (2560). ปัจจัยด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกรณีศึกษา เขื่อนรัชชประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1) , 137-147.

ศักดิ์ดา บุญยืด. (2545). ปัจจัยด้านกราฟิกบนซองบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อความเข้าใจในรสชาติของบะหมี่สำเร็จรูป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาวดี พนัสอำพน และ ศรีสุดา ลีลาสุวัฒน์. (2554). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม. ใน อนาคตไทย: รากฐานที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554 (น. 336-341). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัรฮาวี เจ๊ะสะแม และ ยอดนภา เกษเมือง. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการเชิงวัฒนธรรมของชุมชนปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 79-90.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2549). อัตลักษณ์ = Identity : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สาขาสังคมวิทยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

ชัยวรรณ ว. ., บ.ป.สูงเนิน เ., & บรรเทา อ. (2023). แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารทางทะเลแปรรูป บนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน . วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 4(1), 41–65. https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.4