ความเข้าใจและการรับรู้ของนักบัญชีต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15: เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า

ผู้แต่ง

  • ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สนธิญา สุวรรณราช สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สรัชนุช บุญวุฒิ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ทิพยาภรณ์ ปัตถา สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • กาญจนา คุมา สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

DOI:

https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.1

คำสำคัญ:

การรับรู้ , ความเข้าใจ , นักบัญชี , รายได้จากสัญญา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจและการรับรู้ของนักบัญชีโดยเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ของนักบัญชีต่อความเข้าใจและการรับรู้ใน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่องรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า (ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้าง) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้คือนักบัญชีที่อยู่ในการอบรมโครงการบริการวิชาการของสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 147 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน T-test One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าระดับความเข้าใจและการรับรู้ของนักบัญชีต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่องรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้าเกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้าง ด้านบทนำ รายได้ค่าก่อสร้าง ต้นทุนงานก่อสร้าง การรับรู้รายได้และการวัดมูลค่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของนักบัญชีต่อระดับความเข้าใจและการรับรู้ต่อมาตรฐานฯพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความเข้าใจและการรับรู้ในมาตรฐานฯ ด้านระดับการศึกษาของกลุ่ม ตัวอย่างระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกไม่แตกต่างกันและค่าเฉลี่ยของคะแนนความเข้าใจและการรับรู้ในมาตรฐานฯ ด้านประสบการณ์ในการทำงานบัญชีของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 2 ปี, ระหว่าง 2 - 5 ปี และระหว่าง 6 - 8 ปี กับกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์มากกว่า 8 ปี ไม่แตกต่างกัน

References

กอบแก้ว รัตนอุบล. (2562). การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน ฉบับปรับปรุงปี ค.ศ. 2018: บทที่ 1-บทที่ 4. วารสารวิชาชีพบัญชี, 15(47), 78-89.

นูรไอนี หมาดหมีน. (2564). ความรู้ความเข้าใจมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ณณิชากร กล้องแก้ว, นิภาพรรณ ดุลนี, กชพร นามสีฐาน, และปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี. (2564). การพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของผู้จัดทำบัญชีในยุคดิจิทัลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา: ในมุมมองของผู้ประกอบการ, วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(3), 314-326.

ณีชญา โหมดเครือ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของนักศึกษาปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/ml10/6114962077.pdf

นฤนาถ ศราภัยวานิช, มนทิพย์ ตั้งเอกจิต, สุวรรณา เลาหะวิสุทธิ์, และดุรยา สุขถมยา. (2561). ความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1), 137-152.

นุชจนีย์ ดีจิต. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณของนักบัญชีในเขตภาคเหนือ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม)

ภัทราพร จิตสร้างบุญ. (2561). ความรู้ความเข้าใจมาตรฐานรายงานทางการเงินไทยของนิสิตหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 141-155.

มณฑา เอมสวัสดิ์. (2564). เอกสารประกอบการสอน วิชา MAC1006การบัญชีชั้นสูง 1. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

มนทิรา สังข์ทอง, กนกวรรณ แซ่ภู่, และสุดารัตน์ โอษฤทธิ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์และการรับรู้คคุณภาพการบริการของประชาชนที่ใช้บริการสถานีรถไฟจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 3(2), 1-14.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย. [PowerPoint]. สืบค้นจาก http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=988

ศรีสุดา ทองวันดี, อารยา มีเย็น, และธิติรัตน์ วงษ์กาฬสินธุ์. (2563). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (TFRS 9) ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของนักบัญชีกรณีศึกษาบริษัทในกลุ่ม SET100. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 159-168.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และ อนุวัฒน์ ภักดี. (2562). รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า: หลักการรับรู้รายได้. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 1(1), 1-17.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2562). มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า. กรุงเทพฯ: สภาวิชาชีพบัญชี.

สุนันทา พรเจริญโรจน์. (2564). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะของผู้ทำบัญชีในธุรกิจขนากลางและขนาดย่อม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 151-164.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-20

How to Cite

สุริยะสาร ฐ. ., สุวรรณราช ส., บุญวุฒิ ส. ., ปัตถา ท., คุมา ก., & ทิพย์วิวัฒน์พจนา ส. . (2023). ความเข้าใจและการรับรู้ของนักบัญชีต่อมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15: เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 4(1), 1–17. https://doi.org/10.14456/ajmt.2023.1