พฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารและทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมการตลาด ที่ส่งผลต่อการสั่งซื้ออาหารโดยใช้แอปพลิเคชันของผู้บริโภค อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • บุณยานุช เปี้ยยา สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
  • อัจฉราพร แปลงมาลย์ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
  • สรวิทย์ ปานพินิจ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ทัศนคติ, ส่วนประสมการตลาด , แอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารโดยใช้แอปพลิเคชันและศึกษาทัศนคติ  ที่มีต่อส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการสั่งซื้ออาหารโดยใช้แอปพลิเคชันของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ที่เคยสั่งซื้ออาหารผ่านแอปพลิคชันคือ แบบสอบถามที่มี ค่าดัชนีความสอดคล้องของความตรงของเนื้อหาที่ 0.970 และมีค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบัคเท่ากับ 0.963 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์เผยว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิงที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานะโสด ขนาดครอบครัว 2-4 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 5,001-10,000 บาท 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สั่งซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชันเป็นบางครั้ง สั่งซื้อโดยใช้แอปพลิเคชัน Grab food บ่อยที่สุด ในช่วงเวลาระหว่าง 12.01-15.00 น. สั่งซื้อเมื่ออยู่ที่บ้านเพื่อรับประทานกับครอบครัวในช่วงวันหยุด จำนวนเงินในการสั่งซื้อเฉลี่ยต่อครั้งน้อยกว่า 200 บาท โดยเลือกใช้วิธีการชำระเงินปลายทาง กลุ่มตัวอย่างมีเหตุผลใน การสั่งซื้ออาหารโดยใช้แอปพลิเคชันเพราะขี้เกียจออกไปรับประทานอาหารข้างนอก และ 3) ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการสั่งซื้ออาหารโดยใช้แอปพลิเคชันระดับมากที่สุดในทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง คือ ด้านการจัดจำหน่าย ส่วนปัจจัย ที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อระดับมาก ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์       ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา การวิจัยในครั้งต่อไปควรมีการศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารโดยใช้แอปพลิเคชันของผู้บริโภค

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-20