การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดการท่องเที่ยวแบบคาเฟ่ฮอปปิ้ง (Café Hopping) บริเวณถนนเลียบริมแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ เชื้อเมืองแสน นักศึกษาสาขาการโรงแรมและภัตตาคาร วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • จีราพรรณ อินทรี นักศึกษาสาขาการโรงแรมและภัตตาคาร วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อาทิตยาพร ประสานพานิช อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการโรงแรมภัตตาคารและอีเว้นท์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • กันตภพ บัวทอง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการโรงแรมภัตตาคารและอีเว้นท์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว , การส่งเสริมการตลาด , คาเฟ่ฮอปปิ้ง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันของการดำเนินงานด้านการตลาดของธุรกิจคาเฟ่ รวมถึงการศึกษาพฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจคาเฟ่ในจังหวัดนครพนม เพื่อนำไปประยุกต์เป็น    แนวทางการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย คือ ผู้บริโภคที่มาใช้บริการคาเฟ่ บริเวณถนนเลียบริมแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม จำนวน 400 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลพบว่าส่วนใหญ่ผู้บริโภคเป็นเพศหญิงตัดสินใจเข้าใช้บริการด้วยตนเอง การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด อายุ 21-30 ปี นิยมใช้บริการที่คาเฟ่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจในช่วง เวลา 12.01-15.00 น. ของวันเสาร์และวันอาทิตย์ บริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานน้อย มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 51-100 บาทต่อครั้ง จากข้อมูลแบบสอบถามทำให้ทราบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบร้าน 8E88 Eatery-Café & Bar เพราะปัจจัยส่วนประสมการตลาดตรงตามความต้องการของผู้บริโภค จากผลการวิจัยทำให้ทราบว่าธุรกิจคาเฟ่บริเวณนี้จึงควรมีการปรับรูปแบบให้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวแบบคาเฟ่ฮอปปิ้ง (Café Hopping) เนื่องจากวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเวลา 18.00-22.00 น. เป็นช่วงวันที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยที่สุด ผู้ประกอบการควรมีการจัดทำการส่งเสริมการขายเพื่อดึงดูดผู้บริโภค และปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ธุรกิจคาเฟ่บริเวณถนนเลียบริมแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด จึงควรมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย ตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-20