กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดผ้าไหมทอมือพื้นถิ่นจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อลิศรา ธรรมบุตร สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • พัชราวรรณ อาจหาญ สาขาการบัญชี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ทัศนียา นิลฤทธิ์ สาขาพืชศาสตร์สิ่งทอและการออกแบบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การส่งเสริมการตลาด, ผ้าไหมทอมือพื้นถิ่นจังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับผ้าไหมทอมือของจังหวัดสุรินทร์ และนำแนวทางส่วนประสมทางการตลาด 8P’s มากำหนดกลยุทธ์การตลาดของผ้าไหมทอมือพื้นถิ่นภายในจังหวัดสุรินทร์ที่กำลังประสบปัญหาหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ในพื้นที่ชุมชนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีปริมาณลดลง ชุมชนขาดรายได้จากการท่องเที่ยวและขาดรายได้ จากการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม โดยหากสามารถส่งเสริมหรือพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีการกระจายตัวและทำให้เกิดเครือข่ายแล้วก็จะเป็นการถักทอไปสู่เศรษฐกิจของภูมิภาคและเศรษฐกิจของชาติในลำดับต่อไป เนื่องจากผ้าไหมทอมือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของคนในชุมชน เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อนุรักษ์สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเป็นแกนหลักทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่ผลิต และจำหน่ายสินค้า จึงจำเป็นต้องอาศัยแนวทางส่วนประสมทางการตลาด 8P’s มากำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน พัฒนาด้านช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่สามารถติดต่อได้ทั้งช่องทางออนไลน์ (Online Marketing) และช่องทางออฟไลน์ (Offline Marketing) ส่งเสริมการตลาดโดยเน้นการสร้างความแข็งแกร่งของตลาดภายในชุมชน ฝึกอบรมบุคลากรให้มีทักษะในการการขายและการบริการ สร้างคุณค่าและภาพลักษณ์ของผ้าไหมให้โดดเด่นมีระบบด้านการบริการที่ถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการภายในชุมชนพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพธุรกิจของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-24