แนวทางการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลคู่สัญญา กองทุนประกันสังคมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
แนวทางพัฒนาการให้บริการ, โรงพยาบาลคู่สัญญา, กองทุนประกันสังคมบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็น การกำหนดและประเมินแนวทางการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลคู่สัญญากองทุนประกัน สังคมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนา ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประเมินความต้องการจำเป็นในการให้บริการของโรงพยาบาลคู่สัญญากองทุนประกันสังคมแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกประกันสังคมแห่งชาติที่ใช้ประกันสุขภาพของโรงพยาบาลคู่สัญญาขั้นศูนย์กลางในนครหลวงเวียงจันทน์ จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ระยะที่ 2 กำหนดแนวทางการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลคู่สัญญากองทุนประกันสังคมแห่งชาติ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปภาพรวม ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้แนวทางการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลคู่สัญญากองทุนประกันสังคมแห่งชาติ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย ระยะที่ 1 ผลการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า อันดับหนึ่งด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ อันดับสองด้านความพร้อมทางกายภาพ อันดับสามด้านขั้นตอนการให้บริการ อันดับสี่ด้านระบบสารสนเทศ และอันดับห้าด้านบุคลากร ระยะที่ 2 ผลการกำหนดแนวทางการพัฒนาการให้บริการ พบว่า มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ ด้านความพร้อมทางกายภาพ ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านระบบสารสนเทศ และด้านบุคลากร ซึ่งทุกด้านประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ โครงการ/กิจกรรมการพัฒนา และการประเมินผล และ ระยะที่ 3 ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการให้บริการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว