นาคกับนวัตกรรมความเชื่อประดิษฐ์
คำสำคัญ:
นาค, ความเชื่อ, นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์บทคัดย่อ
นาคกับนวัตกรรมความเชื่อประดิษฐ์ ได้อธิบายถึง นาค, ความเชื่อ, นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เกิดจากความเชื่อที่มีต่อ “นาค” จากความเชื่อนี้ได้อธิบายว่า นาคเป็นสัตว์ในตำนาน ปรากฏเป็นความเชื่อในกลุ่มชนท้องถิ่นในดินแดนอีสานและวัฒนธรรมตามลุ่มแม่น้ำโขง นาค ถูกกล่าวไว้ใน คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และทางศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ด้วย นาคจึงได้มีอิทธิพล บทบาทสำคัญต่อมนุษย์ในด้านความอุดมสมบูรณ์และมั่งคั่ง นาค ได้กลายมาเป็นรูปแบบของสัญลักษณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และนำมาออกแบบในลักษณะของนวัตกรรมด้านบายศรี และพัฒนามาเป็นการบูชานาคที่ปรากฏมีในสังคมไทยในปัจจุบัน
ความเชื่อเรื่อง นาค ของกลุ่มชาวอีสานในประเทศไทย ตามความเชื่อของชนกลุ่มนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ นาค มีการกล่าวไว้ในหนังสือตำนาน คัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวไว้ นาคเป็นพญางูใหญ่ ที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถเปลี่ยนจากงูกลายเป็นมนุษย์ได้บางครั้งคราวตามเหตุจำเป็น นาคมีอำนาจวิเศษ สิ่งที่ทำให้นาคมีพลังวิเศษกล่าวว่า มาจากลูกแก้วมณีศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อที่กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมกลายเป็นความยิ่งใหญ่ และทรงอิทธิพลต่อกลุ่มชน ที่มีความเชื่อต่อนาค ร่องรอยความคิดเรื่องนาคถูกปรากฏในวรรณกรรมปรัมปราความเชื่อ พิธีกรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วิถีชีวิตและจิตรกรรม ระบบความเชื่อของกลุ่มชนที่มีต่อ นาคมีผลต่อมนุษย์ในด้านการดำเนินชีวิต อาทิ ความรัก หน้าที่การงาน และความอุดมสมบูรณ์ ระบบความเชื่อนี้เองทำให้เกิดบทบาทด้านผลิตผล นวัตกรรมที่ได้มาฐานคติความเชื่อที่มีต่อนาค ได้กลายมาเป็นเครื่องบูชา และประดับมากมายเช่น ชุดการสวมใส่และสัญลักษณ์ เพื่อการนำมาบูชา ความเชื่อเรื่องนาค ที่มีอิทธิพลในการดำรงชีวิตของกลุ่มชนชาวอีสาน ดังนั้นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ของนาค คือ1) นาคเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ 2) นาคเป็นสัญลักษณ์ของความ เหนี่ยวแน่ มั่นคง เนื้อคู่และความรัก 3) นาคเป็นสัญลักษณ์แห่ง ความร่ำรวย กำไร และความผาสุก ดังนั้นความเชื่อนี้ยังแสดงออกทางพฤติกรรมในด้านพิธีกรรม การบูชา บวงสรวง เซ่นไหว้ ที่มีต่อนาคซึ่งมีผลทางความเชื่อที่ได้จากการบูชาซึ่งมีอิทธิพลบทบาทมากในกลุ่มชนชาวอีสานแห่งนี้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว