สภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการสายฮาฟิซอัลกุรอานพร้อมความหมายของโรงเรียนอิสลามสันติชน สังกัดคณะกรรมการส่งเสริมศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
บริหารงานวิชาการ, การพัฒนา, ฮาฟิซอัลกุรอาน, โรงเรียนอิสลามสันติชนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการสายฮาฟิซอัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทยของโรงเรียนอิสลามสันติชน
วิธีการศึกษา ผู้วิจัยเลือกกลุ่มสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 31 คน โดยผู้วิจัยเลือกประชากรแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้ก่อตั้ง ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระ และครูผู้สอน สายฮาฟิซอัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทยของโรงเรียนอิสลามสันติชน เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการสายฮาฟิซอัลกุรอานของโรงเรียนอิสลามสันติชนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษามีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือด้านการพัฒนาหลักสูตรสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น ด้านการวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) แนวทางที่ค้นพบ โดยจัดให้มีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจทุกด้านของสายฮาฟิซอัลกุรอาน ให้ขยายช่องทางการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน เสนอให้มีการประเมินผลอย่างชัดเจนมากขึ้นเพื่อการเผยแพร่ต่อสาธารณะ และมีการแสดงผลของนักเรียนรายบุคคล เสนอแนะให้มี การบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดทางด้านการศึกษา
การนำผลวิจัยไปใช้ เป็นแนวทางการบริหารงานวิชาการสายฮาฟิซอัลกุรอานพร้อมความหมายของโรงเรียนอิสลามสันติชน
References
Chestet, N. M. (1965). An lntroduction to School Administration : Selected reading. McMillan.
Educational Ministry. (2546). Manual for Administration of Basic Educational School in field of Entity.
Langputeh, S., & Makeng, M. (2021). Trends of Basic Islamic Educational Management in Southern Thailand after the pandemic Covid -19. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University 12(1), 1–13. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/ article/view/250389
Mahadun, H., & Machmud, K. I. (2006). Brain consumption Jombang. Pesantren La Raiba Hanifida.
Mahadun, H., & Machmud, K. I. (2015). Imagination And visualization Used to remember Jombang. Pesantren La Raiba Hanifida.
Prasongphon, K. (2558). State and Guidelines for Development of Academic Administration of education school district 42 Educational Administration and Leadership Faculty of Education, Saint John’s University (n.p.).
Mussari, P. (2563). Story of Hafiz Al Quran with meaning of Santichon Islamic School. Memorial of Training of Administrator and Hafiz Al Quran Teacher, Hanifida Method. (n.p.).
Janmontri, T. (2007). Academic Administration State of Administrator for School of Chaiyaphum Educational Service Area Office district 1 The Thesis of Master of Education Program in Educational Administration Graduate School, Chaiyaphum Rajabhat University. (n.p.).
Chotisriphanporn, W. (2011). A Study of Problems State and Guidelines in AcademicAdministration of Educational School under Local Administrative Organizations, Phichit Province. The Independent Study of master’s degree of Education Administration Graduate School, Naresuan University.
Kuakul, Y. (2018). Development of Academic Affairs Administration Model of Islamic Private Schools in Southern Border Provinces to Make Learners Perfect Men. AL-HIKMAH JOURNAL OF FATONI UNIVERSITY, 8(15). 15-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา