ความเชื่อต่างวัฒนธรรมที่มีในวิถีปฏิบัติทางศาสนาของชาวมุสลิมในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • รอมฎัน หะสาเมาะ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อิสมาแอ กาเต๊ะ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, วัฒนธรรม, ชุมชนมุสลิม, เกาะสมุย

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติและความเชื่อต่างวัฒนธรรมที่มีในวิถีปฏิบัติทางศาสนาของชาวมุสลิมในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ผสมผสานกับวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยผู้วิจัยได้จำแนกเป็น 2 ขั้นตอน เริ่มจากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาพัฒนาการแนวคิดที่บิดเบือนและปฏิบัติของชุมชนมุสลิม ในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นขั้นตอนที่หนึ่ง และการศึกษาภาคสนาม (Field Work Research) ในขั้นตอนที่สอง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก       (In-depth Interview : IDI) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion : FGD) กับนักวิชาการด้านศาสนา อิหม่าม เคาะฏีบ บิลาล สัปบุรุษ ครูตาดีกา กลุ่มดะวะฮ์ และประชาชนทั่วไป จำนวนรวมทั้งสิ้น 20 คน เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการศึกษา ประวัติและพัฒนาการของความเชื่อต่างวัฒนธรรมที่นำสู่การปฏิบัติอิบาดะฮ์ของชุมชนมุสลิมในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เริ่มจากการปฏิบัติที่สืบทอดกันมาสมัยบรรพบุรุษที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเกาะสมุย โดยมีลักษณะบิดเบือนจากหลากหลายความเชื่อ ได้แก่ พุทธ ฮินดู และอิสลาม ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวคิด ความเข้าใจ และการปฏิบัติที่บิดเบือนจากจากบทบัญญัติของอิสลาม นับตั้งแต่มีการอพยพของผู้คนมาพักอาศัยที่เกาะสมุย เช่น พิธีกรรมการทำบุญเรือ พิธีกรรมการเกิด (โต๊ะบิแด) พิธีกรรมตะกรุด เครื่องรางของขลัง พิธีกรรมอิซึกุโบร์ –   อารอเวาะห์ และพิธีกรรมการเฝ้ากูโบร์ (สุสาน) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันชุมชนมุสลิมในอำเภอเกาะสมุยจะได้รับการพัฒนาด้านความรู้และการศึกษา เนื่องจากมีผู้รู้ศาสนาที่เดินทางมาจากต่างถิ่นเข้ามาให้ความรู้และแนะนำคำสอนที่ถูกต้อง ทำให้มุสลิมในชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสามารถยึดถือแนวปฏิบัติของอิสลามที่ถูกต้อง 

การนำผลวิจัยไปใช้ การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นสารสนเทศพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนด้านการรับรู้ให้แก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี องค์กรเผยแพร่ศาสนาอิสลามในประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เห็นถึงความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมเพื่อการปรับเปลี่ยนความเชื่อต่างวัฒนธรรมไปสู่หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องในชุมชนมุสลิม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

References

Ammaphan, S. (1993). Traditions and rituals in Thai literature. O.S.Printing House Co., Ltd.

Al-Usama, A. (2007). The Beliefs of Muslims in Magic, Witchcraft and Soothsaying: A case Study of Yaring, Pattani[Unpublished master’s thesis]. Prince of Songkla University Pattani Campus.

Chalayondecha, P. (1996). Muslims in Thailand(2nd edition). Islamic Central Library Project, Sultan Sulaiman lineage.

Hooker, M. B., & Saenong, Ilham B. (2002). Islam mazhab Indonesia: fatwa-fatwa dan perubahan sosial/M.B. Hooker; penerjemah, Idin Rosyidin Hasan; editor, Ilham B. Saenong. Teraju.

Jitphiromsri, S. (2002). Beliefs rituals and traditions in the Sai Khao community. Khok Pho District Pattani Province (Research Report). The Research Supported by Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University Pattani Campus.

Khumparat, N. et al. (2010). Foreign Culture, The Changes in Dynamics to The Social and Cultural Aspects of the Communities Koh Samui and Koh Phangan District Suratthani Province(Research Report). The Research Supported by Office of the National Culture Commission.

Kongsamut, S. (2012). Vipassana Master of Sriwichai Island. Thammasathaporn Publishing House.

Muslim, M. (1991). al-Ṣaḥīḥ (الصحيح). Dār al-Ḥadīth.

The Office Strategy Management: OSM. (2016). Southern Provinces Development Plan on the Gulf of Thailand (2018 - 2021). OSM.

Ponsawat, S. & Thipyasothon, P. (2014). The Formulation a Samui Vernacular Architecture Model. Conference proceedings: The 15th Graduate Research Conferences, Graduate School, Khon Kaen University.

Ruangprach, C. (2004). Bilief and Feast Customs Amongst Muslim in Ayutthaya [Unpublished master’s thesis]. Prince of Songkla University Pattani Campus.

Saksoong, A., & Chaunchaiyasit. P. (2018). Tok Bidan’s way of life: the preservation of folk wisdom and community culture in areas of deep south provinces, Thailand. Intaninthaksin Journal Thaksin University, 13(1). 31-53.

Sornpradt, C., & Yisa, K. (2005). Thai Muslim Community in SuratThani. Office of the National Culture Commission. Ministry of Culture.

Sumpena, D. (2012). Islam dan Budaya Lokal:Kajian terhadap Interelasi Islam dan Budaya Sunda. Ilmu Dakwah Academic Journal for Homiletic Studies, 6(1), 101-120. DOI: https://doi.org/10.15575/idajhs.v6i1.329

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024

How to Cite

หะสาเมาะ ร., & กาเต๊ะ อ. . (2024). ความเชื่อต่างวัฒนธรรมที่มีในวิถีปฏิบัติทางศาสนาของชาวมุสลิมในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 15(1), 31–47. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/274115