ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลากโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบชี้แนะที่มีผลต่อพฤติกรรมตการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
การเรียนรู้, ชี้แนะ, เทคนิค, พฤติกรรมบทคัดย่อ
จุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลากโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลอัคลากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 3) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลากโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะ
วิธีการศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านบาโงมูลง ที่กำลังเรียนใน
ภาคการเรียนที่ 2/2565 จำนวน 15 คน เครื่องที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลากโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะที่มีผลต่อพฤติกรรมจำนวน 30 ข้อ ลักษณะแบบทดสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 3) แบบสังเกตความประพฤติของนักเรียนจำนวน 5 ข้อ โดยวัดจากการสังเกตพฤติกรรมก่อนเรียนและหลังเรียน ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 2) การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 3) พฤติกรรมในการตอบคำถาม 4) ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย 5) ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเสียสละ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Dependent t-Test
ผลการศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลาคโดยใช้เทคนิคการจัด
การเรียนรู้แบบชี้แนะที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิ์ภาพ E1/E2 = 81.67/84.67 ซึ่งมีประสิทธิ์ภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ตามที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลอัคลากโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3) พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภายหลังการจัดการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะมีระดับคุณภาพพฤติกรรมการเรียนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลาค โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
การนำผลวิจัยไปใช้ บทความวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา
References
Amyuak, S. (2016). Development of Study Behavior and Academic Achievement of Students in Learning Through Paticipatory Teaching [Unpublished master’s thesis]. Pibulsongkram Rajabhat University.
Boonaon, P. (2009). Learning management by organizing learning activity plans for the career and technology learning group on the subject of drawing three-dimensional images (Pictorial) by organizing guided learning activities [Unpublished master’s thesis]. Mahasarakham University.
Ministry of Education, (2010). làk soot gaen glaang gaan sèuk-săa kân péun tăan·pút-tá-sàk-gà-ràat sŏng-pan-hâa-rói-hâa-sìp-èt. grung têp: rohng pim chum nom sà-hà-gon gaan gà-sèt hàeng bprà-têt tai jam-gàt.
Moonkum, S. (2006). Gaan kĭian pà-năe-gaan jàt gaan riian róo têe nén gaan kít [Writing a learning plan that emphasizes thinking]. Pap-pim.
Naengsakun, K. (2014). Development of Learning Achievement and Practical Skills on Word Processor in Career and Technology for Primary Grade 6 Students Taught by Coaching Instruction with Harrow’s Instruction Model[Unpublished master’s thesis]. Hatyai University.
Sopahai, i. (2017). Developing Academic Achievement and Group Work Behavior Using Learning Using TGT Techniques [Unpublished master’s thesis]. Maha Sarakham Rajabhat University.
Wiriyaprayun, S. (1986). Effects of symbolic models, guidance, and positive reinforcement. To increase social interaction of children with brain disabilities. Pimluk.
Worapan, L. (2007). gaan bprìiap tîiap pŏn kŏng gaan chái ték-ník gaan chée náe dûuay waa-jaa gaan sĕrm raeng taang săng-kom láe gaan chée náe dûuay waa-jaa kûuap kôo gàp gaan sĕrm raeng taang săng-kom têe mee dtòr préut-dtì-gam dtâng jai riian wí-chaa riian paa-săa ang-grìt kŏng nák riian [Comparison of the effects of using verbal guidance, social reinforcement, and verbal guidance combined with social reinforcement techniques on students' attentive behavior in English language study]. [Unpublished master’s thesis]. Mahasarakham University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา