รูปแบบการสร้างสังคมสันติภาพของมหาวิทยาลัยฟาฏอนีโดยใช้มัสยิดเป็นฐานในจังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
สังคม, สันติภาพ, ฟาฏอนี, ปัตตานีบทคัดย่อ
จุดประสงค์ การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างสังคมสันติภาพของมหาวิทยาลัยฟาฏอนีโดยใช้มัสยิดเป็นฐานในจังหวัดปัตตานี
วิธีการศึกษา การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย อิหม่าม คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด สัปบุรุษ ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชนและตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 10 ชุมชน ๆ ละ 20 คน รวมทั้งหมด 200 คน โดยการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดจากพื้นที่จังหวัดปัตตานี การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยอิงตามกรอบการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์กลุ่ม เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการศึกษา รูปแบบการสร้างสังคมสันติภาพของมหาวิทยาลัยฟาฏอนีโดยใช้มัสยิดเป็นฐาน ทางมหาวิทยาลัยฟาฏอนีร่วมกับสิบมัสยิดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ได้พัฒนา “โมเดลสันติภาพ (Peace Model)” ประกอบด้วย 1) P = Pillar หมายถึง การยึดหลักคำสอน 2) E = Education หมายถึง การยึดหลักของกระบวนการศึกษาเรียนรู้ 3) A = Anasyid หมายถึง ยึดหลักของการถ่ายทอดผ่านบทเพลงแห่งสันติภาพ (อานาซีด) 4) C = Curriculum หมายถึง ยึดหลักของการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างนวัตกรชุมชน 5) E = Empowerment หมายถึง ยึดหลักของศักยภาพกำลังคน เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมสันติภาพและสร้างนวัตกรชุมชน บนพื้นฐานของการทำงานเป็นไตรภาคี คือชุมชน รัฐ และเอกชน โดยมีมัสยิดเป็นฐาน
การนำผลวิจัยไปใช้ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อิหม่าม คอเต็บ บิลาลและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมัสยิด และสัปบุรุษมัสยิด สามารถนำผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการปรับรูปแบบการสร้างสังคมสันติภาพโดยใช้มัสยิดเป็นฐานในจังหวัดปัตตานี 2) มัสยิดในพื้นที่จังหวัดปัตตานีควรเรียนรู้ถึงศักยภาพที่มีอยู่ของชุมชนในการประกอบการจัดทำโมเดลสันติภาพ หรือ Peace Model เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาให้กับชุมชนได้ดำเนินตามที่ชุมชนต้องการและทำให้เกิดการตื่นตัวและมีความสนใจในการเรียนรู้ในการสร้างสร้างสันติภาพ
References
Bunga, Y. (2014). Role of Fatoni University in Establishing Peace in the Three Southern Border Provinces[Unpublished master’s thesis]. Prince of Songkla University.
Daoh, R. (2009). Anasyid the Voice of Peace(Research report). Princess Galyani Vadhana Institute of Cultural Studies, Prince of Songkla University Pattani Campus.
Galtung, J. (1996). Peace by peaceful means: Peace and conflict, development and civilization. International Peace Research Institute Oslo; Sage Publications, Inc.
Khamdi, D. (1998). Sasanasad. Kasetsart University.
Kriesberg, L. (2007). Constructive conflicts: From escalation to resolution. Rowman & Littlefield.
Lederach, J. P. (1997). Building Peace: Sustainable Reconciliation in Divided Societies. United States Institute of Peace Press.
Mandech, C., & Putsukee, T., & Thongfhua, S., & Langputeh, S. (2019). Model of Masjids in Mobilization of Taqwa Communities. Journal of Yala Rajabhat University, 14(2), 222-231.
Osman,T., & Kamuning, M., & Cheni, Y. (2013). Peace Building Society Model in the Three Southern Border Provinces of Thailand through Mosque Council Member Process(Research report). supported by Yala Rajabhat University.
Saleah, A., & Sidae, W., & Hanakamae, R., & Daemohleng, D. (2011). Model of learning and innovation in quality of life in Multicultural society using Masjid as a base in Pattani Province. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 12(2), 32-33. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/254626/171069
Srivithaya, S. (2015). The Rule of Law and the Reconciliation by Buddhist Ways in Thai Society. Journal of MCU Peace Studies, 3(2), 20-29.
Yerot, M., & Kasor, M. (2022). Fatoni University's Awareness-raising Approach to Dawah to Create a Peaceful Society. Al-Hikmah Journal Fatoni University, 12(24), 403. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/254753/173427
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา