การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลอัคลากโดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • มูฮัมหมัดยูโซ๊ะ ซง นักศึกษาปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต(การสอนอิสลามศึกษา) คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

นิทาน, อิเล็กทรอนิกส์, อัลอัคลาก

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรายวิชาอัลอัคลากโดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2

วิธีการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระ ประกอบด้วย 1) หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มารยาทต่อผู้มีพระคุณ จำนวน 5 เรื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลอัคลาก เป็นแบบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Dependent t-test

ผลการศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.12/84.02 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ตามที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลอัคลากโดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์หลังเรียน (  = 25.21, S.D. = 2.72) สูงกว่าก่อนเรียน
(  = 15.31, S.D. = 1.26) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก (  = 4.11, S.D. = 0.24)

การนำผลวิจัยไปใช้ บทความวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา

References

Judge, T. A., & Higgins, C. A. (1998). Affective disposition and the letter of reference. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 73(5). 207-22.

Lobchang, P., & Ong-atwanit, N. (2022). Classroom Construction for Thai language using electronic books and word spelling skill development of fourth grade students [Unpublished master’s thesis]. Naresuan University.

Laennitanyong, H. (2019). Improving academic achievement in the Al-Akhlaq subject using Comic book on gratitude and gratitude for grade 4 students [Unpublished master’s thesis]. Yala Rajabhat University.

Ministry of Education. (2003). làk sòot ìt-sà-laam sèuk-săa · pút-tá-sàk-gà-ràat · sŏng-pan-hâa-rói-sèe-sìp-hòkIslamic [Istudies Curriculum 2003 (Revised Edition 2012)]. Office of Private Education Ministry of Education. https://www.skprivate.go.th/group/detail/96

Muda, A. (2015). The Development of Understanding in Ethics in al-Hadis Subject[Unpublished master’s thesis]. Yala Rajabhat University.

Nong Chok District Mosque Administrators Club. (2013). Mu’allaf Handbook New Muslims(20th edition). Nong Chok District Mosque Administrators Club.

Pahay, S. (2010). Media and technologis for education. Phrae Primary Educational Service Area Office 2.

Puangwiphat, D. (2011). Affects of learning achievement and retention of English vocabulary by using English storytelling eletronic book for Pratom Suksa five [Unpublished master’s thesis]. Silpakorn University.

Watcharakupt, S. (2000). A reading comprehension package using tales for prathom suksa three students [Unpublished master’s thesis]. Burapha University Graduate School.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024

How to Cite

ซง ม., & เฮงยามา ม. . (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอัลอัคลากโดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 15(1), 83–99. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/273004