สภาพและปัญหาของการดูแลเด็กกำพร้าตามวิถีอิสลามของสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
การดูแล, เด็กกำพร้า, วิถีอิสลาม, ภาคใต้บทคัดย่อ
จุดประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. การดูแลเด็กกำพร้าตามวิถีอิสลาม 2. สภาพและปัญหาของการดูแลเด็กกำพร้าตามวิถีอิสลามของสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3. แนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลเด็กกำพร้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้
วิธีการศึกษา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอข้อมูลแบบเชิงพรรณนาวิเคราะห์และเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารจาก อัลกุรอาน อัลหะดีษ ทัศนะของอุลมา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยผู้ดูแลเด็กกำพร้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา (4 อำเภอได้แก่ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) โดยใช้วิธีการเจาะจง
ผลการศึกษา 1. หลักการอิสลามส่งเสริมให้มุสลิมในการช่วยเหลือต่อเด็กกำพร้า และส่วนหนึ่งมาจากการดูแลเด็กกำพร้าตามวิถีอิสลาม ได้แก่ 1) การดูแลจัดการทรัพย์สินของเด็กกำพร้า 2) การเลี้ยงดูและมอบความรักแก่เด็กกำพร้าในรูปแบบครอบครัวอุปถัมภ์ 3) การส่งเสริมการศึกษาทั้งด้านศาสนาและด้านการประกอบอาชีพแก่เด็กกำพร้า และ 4) การปกป้องและรักษาสิทธิของเด็กกำพร้า 2. สภาพและปัญหาของการดูแลเด็กกำพร้าตามวิถีอิสลามของสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีดังนี้ 1) สถานที่เลี้ยงดูเด็กกำพร้าบางพื้นที่ยังขาดบุคลากร 2) งบประมาณและค่าใช้จ่าย 3) ขาดบุคลากรในการอบรม เพิ่มทักษะ วิชาความรู้ทั้งศาสนาและสามัญ และ 4) ขาดการเอาใจใส่ของผู้นำในพื้นที่และการสนับสนุนจากภาครัฐ 3. แนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลเด็กกำพร้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีดังนี้ 1) การจัดหาครอบครัวอุปการะ 2) การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการทางความคิด 3) การสนับสนุนให้แสดงออกอย่างถูกวิธี 4) การส่งเสริมด้านการศึกษา และ 5) การประเมินด้านจิตวิทยาในแต่ละด้านเพื่อเป็นแนวทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำผลวิจัยไปใช้ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้แนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลเด็กกำพร้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ตรงตามเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุด
References
Bingasan, B. (2004). săa-raa-nú-grom ìt-sà-laam chà-bàp yao-wá-chon láe pôo rêrm sŏnjai. [Encyclopedia of Islam for Youth and Beginners]. Al amin.
Chelong,A., & Leaheem,K. (2021). Islamic Learning Paradigm for the Development of Muslim Youth Behavior in the Three Southern Border Provinces of Thailand. Journal of IslamicStudies,Prince of Songkla University, 12(2), 1-15.
Chomaria, N. (2014). Cara Kita Mencintai Anak Yatim. Aqwam.
Hamid, R. (2017). Kafalah al-Yatim dari Perspektif Hadis Nabi.Jurnal Ushuluddin: Media Dialog Pemikiran Islam,17(1), 108-122. https://doi.org/10.24252/jumdpi.v17i1.2271
Ibn Majah, A. Y. Q. (1997). Sunan Ibn Majah(Vol. 2). Dar al-Fikr.
Khamphuch, K. (2022). ù-bpà-sàk kŏng yao-wá-chon chaai daen dtâi · nai gam-paeng kŏng kwaam mân kong. [Obstacles for Southern Border Youth Within the Walls of Security: Data from the 2022 Youth Survey]. The 1O1 World. https://kidforkids.org/deepsouth-youth-obstacles/
Kanchanaphat, K.(2015). The Development of Orphan’s Quality of Life Affected by Unrest Situations. Parichart Journal, 27(2) 64-81.
Karina, A. (2008). The Science of the Quran and Assunnah.College of Islamic Studies, Prince of Songkla University.
Kateh, S. (2022) Kontribusi MulnithiNusantara (Yayasan Nusantara) terhadap Pemberdayaan Anak Yatim di Patani-Thailand Selatan Menurut Perspektif Hukum Islam [Unpublished master’s thesis]. Universitas Islam Negeri Alauddin Makassar.
Komolnimi, T. (2022). dèk gam-práa chaai daen dtâi · pôo dtòk lòn jàak rá-bòp yiieow-yaa láe gaan sèuk-săa bon taang dtan[Southern Border Orphans: Those Falling Through the Healing and Education System on a Dead-End]. Equitable Education Research Institute. (EEFI). https://research.eef.or.th/thitinob-komalnimi-orphan-southern-border
Muslim. (1955). Sahih Muslim. Dar Ihya’ al–Turath Al–‘Arabi.
Al-Maududi. (2012). Tafhim al-Quran. Maktabah al–Nur.
Al–Qurtubiy, A. (2006). Tafsir al–Qurtubiy. Dar Ihya’ al–Turath al–Arabiy.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา