การพัฒนากระบวนการคิดของนักศึกษาเพื่อการใช้ชีวิตตามหลักการอิสลามสายกลางในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยใช้แบบคิดเชื่อมโยงฐานหลักเจตนารมณ์อิสลาม หลักเกาะฎออ์ เกาะดัร และหลักผลประโยชน์ของสังคม

ผู้แต่ง

  • Abdulhadee Sabuding คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ยาฮารี กาเซ็ง คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นิอาบาดี มิง คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

หลักวะสะฏียะห์, หลักความเชื่อ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการคิดของนักศึกษาเพื่อการใช้ชีวิตตามหลักการอิสลามสายกลางในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยใช้แบบคิดเชื่อมโยงฐานหลักเจตนารมณ์อิสลาม หลักเกาะฎออ์ เกาะดัร และหลักผลประโยชน์ของสังคม

วิธีการศึกษา การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยประชุมเชิงปฏิบัติการและการสนทนากลุ่มนักศึกษาที่ผ่านการใช้แบบคิดเชื่อมโยงฐานหลักเจตนารมณ์อิสลาม หลักเกาะฎออ์ เกาะดัร และหลักผลประโยชน์ของสังคม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาคณะวิทยาการอิสลาม ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จากกลุ่มนักศึกษา 4 วิชาเอก ได้แก่ อิสลามศึกษา การสอนอิสลามศึกษา เศรษฐศาสตร์และการจัดการในอิสลาม และกฎหมายอิสลาม โดยมีเงื่อนไขนักศึกษาที่ผ่านการเรียนรายวิชาวะสะฏียะห์อย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 

ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านกระบวนการคิด  พบว่า กระบวนการคิดของนักศึกษาเพื่อการใช้ชีวิตตามหลักการอิสลามสายกลางในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยใช้แบบคิดเชื่อมโยงฐานหลักเจตนารมณ์อิสลาม หลักเกาะฎออ์ เกาะดัร และหลักผลประโยชน์ของสังคม มีลักษณะของการคิดแบบสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันระหว่างหลักเจตนารมณ์อิสลาม หลักเกาะฎออ์ เกาะดัร และหลักผลประโยชน์ของสังคม     2) ด้านความเหมาะสมของรูปแบบคิดเชื่อมโยงฐานหลักเจตนารมณ์อิสลาม หลักเกาะฎออ์ เกาะดัร และหลักผลประโยชน์ของสังคม พบว่า นักศึกษามีความเห็นว่าการพิจารณาความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงรูปแบบนี้ สามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตามบริบทต่าง ๆ ในสถาการณ์การแพร่โรคระบาด เช่น การละหมาดญามาอะฮ์ที่เว้นระยะห่างในการละหมาดญามาอะฮ์ที่มัสยิด และรูปแบบแสดงให้เห็นประเด็นความสัมพันธ์ของหลักการที่ครอบคลุมการดำเนินชีวิตตามหลักวะสะฏียะห์ ทั้งในเรื่องศาสนา ชีวิต สติปัญญา วงศ์ตระกูล และทรัพย์สิน โดยพิจารณาเลือกสิ่งที่เหมาะสมและยืดหยุ่นที่สุดในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ให้กระทบกับสิ่งที่ผิดหลักการศาสนาและคุ้มครองหลักการทั้ง 5 ด้าน 3) ด้านเงื่อนไขการประยุกต์ใช้รูปแบบคิดเชื่อมโยงฐานหลักเจตนารมณ์อิสลาม หลักเกาะฎออ์ เกาะดัร และหลักผลประโยชน์ของสังคม พบว่า การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของรูปแบบการวิเคราะห์นี้ มีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ ความรู้พื้นฐานศาสนาและความเข้าใจหลักวะสะฏียะห์ สำหรับคนที่มีองค์ความรู้นำไปใช้ได้ แต่สำหรับคนทั่วไปจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจตามเงื่อนไขข้างต้นเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ 4) ด้านการนำรูปแบบคิดเชื่อมโยงฐานหลักเจตนารมณ์อิสลาม หลักเกาะฎออ์ เกาะดัร และหลักผลประโยชน์ของสังคมไปใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า นักศึกษาเห็นว่ารูปแบบการวิเคราะห์นี้สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน แต่จะต้องมีการอธิบายศัพท์เฉพาะ และวิธีการใช้เพื่อความถูกต้องของการนำไปใช้รูปแบบวิเคราะห์นี้

การนำผลวิจัยไปใช้  สามารถนำผลการวิจัยเป็นองค์ความรู้และไปประกอบการเรียนแก่นักศึกษาในสถานการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ และเป็นแนวทางในการปรับใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางสถานการณ์การแพร่โรคระบาด โควิด 2019 (COVID - 19) ของนักศึกษา

References

Abdul Kareem Al Shihah, A. R. (2021). Message of Islam. Retrieved October 10, 2021. From https://reader.Islamhouse .com/storage/ downloads/pdf-mobile/th_259395.pdf

Al-Risuni, A. (2004). Muhadharat fi Maqasid al-Syariah. Dar al-hikmah .al-Mansurah.

Al-Risuni, A. (1990). Nazariah al-Maqasid Aind. al-Syatibiy. al-Maghrib. Dar al-baidha.

Al-Risuni, A. (2010). Madkhal ila al-Maqasid al-Syariah. al-Mansurah. Dar Kalimah.

Al-Fasiy. (1993). Maqasid al-Syariah wa Murarimuha.Muasasa. Alal al-Fasiy.

Al-Ghazaliy. (nd). al-Mustasfa min Ilmu Usul. Dar al-Maiman.

Al-LaLaka-I, Hibbahtullah bin Hasan bin Mansur, (1994) . Syar Usul Itiqad ahl al-Sunnah wa al-Jamaah, Dar Toyyibah.

Al-Syatibiy. (1997). al-Muafakat. DarIbnu Affan.

Al-Tirmiziy. (1962) Sunan al-Tirmiziy. Misr.

Alhusain, I. (2018). Understanding the Principles of Al-Wasatiyah and to use in real life. AL-NUR Journal of Graduate school Fatoni University (NO.2 JULY-DECEMBER 2018), 13(25).

Auda, J. (2013). Principles of intent of Islamic law. Ali Panich.

Alhajjaj, M. (2010).Sahih Muslim. Dar al-Qutub.

Al Uthaymeen, M (2001). kār ṣ̄rạthṭhā t̀x kḍ kảh̄nd s̄p̣hāwa (qadhaa.and Qadar) Retrieved October 10, 2021. From https://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=26&id=274

Al- Yubi, M. (1998). Maqasid al-Syariah wa ala gatuha bi al-Adilah al-syariah, Dar al –Hayrah.li al-Nasyrah.

Cheha, M. (2010). Cetnārmṇ̒ phụ̄̂nṭ̄hān 5 prakār nı xis̄lām. Retrieved October 10, 2021. from www.Islam House.com

Chitrat, J. (2021).). Prakāṣ̄ mātrkār f̄êā rawạng p̂xngkạn læa khwbkhum kār phær̀ rabād k̄hxng rokh tid cheụ̄̂x wịrạs̄ khoronā 2019 (kho wid - 19) s̄ảh̄rạb kār pt̩ibạti ṣ̄ās̄n kickār la h̄mād ỵa mā xah̄̒ læa kār lah̄mād wạn ṣ̄ukr̒ (ỵu mxah̄̒) thī̀ mạs̄yid. September 9, 2021.

Düreh, M. I. (2021, 21 December). Interview.

Department of Medical Services. Ministry of Public Health. (2021). Næwthāng kār p̂xngkạn kār dūlæ rạks̄ā kār winicc̄hạy rokh rabād kho wid -19. Retrieved October 10, 2021. From https://covid19.dms.go.th/

Department of Disease Control. Ministry of Public Health. (2021). Næwthāng pt̩ibạti pheụ̄̀x kār p̂xngkạn rokh tid cheụ̄̂x wịrạs̄ khoronā 2019 (COVID-19) h̄rụ̄x kho wid 19 s̄ảh̄rạb prachāchn thạ̀wpị læa klùm s̄eī̀yng. Retrieved October 10, 2021. From https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf

Habannakah, A. H. (2000). Al-Aqidah Islamiah, wa Ususuha, al-Dar al-Syamiah.

Hasan, M. K. (2557). Al Wasatiyyah: Fundamentals of Peaceful Coexistence in Multicultural Society. Peace Institute for Development. Sheikhul Islam Officer.

Ibnu Asyur. (1946). Maqasid al-Syariah al-Islamiyah Dar al-kitabal al-misr. al-qahirah.

Ibnu Faris. (1979). Mu’yam maqasid al-lighah. Dar-fikr.

Ibn Jauziy, AbdulRahman bin Ali bin Muhammad, (1994). Zad al-Masir , al-Maktabah Islamiy.

Ibn Al-Qayyim. (2015). Madarij Al-Saliken. Dar al-Hadis.

Ibn Usaimin, M. B. H. (2002). TaklikMukhtasar ala Kitab Lumah al-Itiqad. Madar al-Watan.

Ismail, M. B. (1927). Maqasid al-Syariah Ta’silan wa Tafilan. Idarah al-Da’wah wa Ta’lim.

Japakiya, I. L. (2015).Um Matan Wasata, the way of the nation Excellent. Fatoni University. Retrieved October 10, 2021. from www.Islam House.com

Japakiya, I. L. (2020). Handbook against the pandemic: Islamic guidance for the COVID-19 crisis. Assalaam Institute. Fatoni University.

Katih, I. (2018). Wasatiyah in Islam and Living in Multicultural Society, Based on Belief and Concept. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 9(1), 31–48. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/165903

Noomsuk, A. (nd). Wasatiyyah: Institute for Peace and Development. Sheikhul Islam Office.

Mat Esa, N. (2017). A translated document summarizing the essence of his keynote speech at the seminar “Middle Path in Multicultural Society in the Southern Border Provinces ” on January 26, 2017, at CS Pattani Hotel, Changwat Pattani organized by Department of East Asia Ministry of Foreign Affairs in collaboration with the Center for Muslim World Policy and the Wasati Institute for Peace and Development Chulalongkorn University translated by Ms. Pintusuda Chainam, Acting Director of East Asia Division 1, Department of East Asia Ministry of Foreign Affairs.

Prayadsap, P. (nd). Balance of islam: The path of justice and peace. Peace Institute for Development. Sheikhul Islam Officer.

Samoh, A. (2019). Xeks̄ār prakxb kār brryāy xạl wa s̄at̩ī yaḥˌ nı xis̄lām: H̄lạkkār læa næwthāng nı kā rn̊ā pị prayukt̒ chı̂ thī̀ t̄hūk t̂xng. On February 2, 2019. at Arabic Language Testing and International Language Development Center.

Samoh, A. (2019). Qawaid al-Maqasid al-Syariah wa Tatbiqatuha al-Da’wiyyah. Faculty of Islamic Sciences. Price of Songkla University.

Salaming, M. (2020). Talil wa Tahrim fi Dhu’Maqasid al-syariah. Faculty of Islamic Science.Prince of Songkla University Pattani Campus.

Suntharak, A. A. (2021). to understand the Islamic faith clearly. Retrieved October 10, 2021. from https://www.islammore.com /view/3414

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-06-2022

How to Cite

Sabuding, A., กาเซ็ง ย., & มิง น. . (2022). การพัฒนากระบวนการคิดของนักศึกษาเพื่อการใช้ชีวิตตามหลักการอิสลามสายกลางในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยใช้แบบคิดเชื่อมโยงฐานหลักเจตนารมณ์อิสลาม หลักเกาะฎออ์ เกาะดัร และหลักผลประโยชน์ของสังคม. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(1), 1–29. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/257626