แนวทางการจัดการและอนุรักษ์เมืองเก่าพะเยา ด้านการใช้สี

ผู้แต่ง

  • วัชรวิชญ์ จิรวงศาพันธุ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การรักษาทัศนียภาพ, เมืองเก่า, ระบบสีธรรมชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิธีการและแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของชุมชนตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของชุมชนตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีเพศต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลบ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้การคำนวณจากสูตรของ ยามาเน่ (Yamane, 1973) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน และใช้สถิติ Pair t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในชุมชนตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีวิธีการและแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69 โดยด้านแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา และด้านพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามลำดับ 2) ประชาชนในชุมชนตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีเพศต่างกันมีวิธีการและแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา ด้านแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และด้านพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

References

บุญศิริ สุขพร้อมสรรพ์ และ ศรีสุดา วงษ์ชุ่ม. (2561). การอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนเมืองเก่าพะเยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(3), 105-126.

ประกาศคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า (2549). ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน. ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า.

ประกาศคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า. (2559). ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าพะเยา ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า.

ภมรเทพ อมรวนิชย์กิจ, อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์, 10 สิงหาคม 2561.

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). โครงการกำหนดขอบเขตของพื้นที่เมืองเก่า เมืองเก่าพะเยา. [Online]. สืบค้น 11 ตุลาคม 2561, จาก https://www.onep.go.th/nced/?p=792.

NCS system. (2561). สืบค้น 12 เมษายน 2562. จาก https://ncscolour.com.

Takayuki Kumazawa. (2560). Color Standards on Restoration and Improvement in the Important Preservation Districts for Groups of Historic Buildings. Journal of Architecture and Planning, 82, 1543-1550.

Yamanashi-City, Guide for Making Koshu-City Scenery with color. [Online]. (2559). สืบค้น 10 ตุลาคม 2561, จาก https://www.city.koshu.yamanashi.jp.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-07

How to Cite

จิรวงศาพันธุ์ ว. (2021). แนวทางการจัดการและอนุรักษ์เมืองเก่าพะเยา ด้านการใช้สี. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 9(2), 255–272. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/254974